CFD คือ ? ส่องวิธีเทรด CFD ที่คุณควรรู้ที่นี่!

CFD คือ ? หากคุณกำลังสนใจการลงทุน โดยเฉพาะการเทรดออนไลน์ คุณมักพบกับคำว่า 'CFD' หรือสัญญา CFD ที่มักมาพร้อมกับคำเตือนที่ว่าการเทรด CFD มีความเสี่ยงสูง ทั้งนี้ CFD คือ ตราสารหลักที่ใช้สำหรับการเทรดออนไลน์ ทั้งหุ้นออนไลน์, ค่าเงินฟอเร็กซ์ รวมถึงการเทรดทองออนไลน์อีกด้วย
และถ้าคุณไม่รู้จะเริ่มตรงไหน บทความนี้จะเป็นคำตอบที่ใช่สำหรับคุณ โดยอธิบายตั้งแต่พื้นฐานว่า CFD คืออะไรไปจนถึงวิธีการเทรด CFD ที่ต่อให้คุณไม่มีพื้นฐานความรู้ด้านการลงทุนมาเลย ก็ขอให้เริ่มอ่านจากบทความนี้ ไล่ลำดับหัวข้อดังต่อไปนี้
CFD คือ ? คุณรู้จักและเข้าใจมากแค่ไหน ?
CFD คือ ?
CFD ย่อมาจาก 'Contract for Difference' (สัญญาซื้อขายส่วนต่าง) ซึ่งเป็นสัญญาที่ระบุว่าจะทำการซื้อขายส่วนต่างในราคาของสินทรัพย์ ณ จุดเวลาที่ทำการเปิดสัญญากับจุดเวลาที่ทำการปิดสัญญา
การจะเข้าใจการเทรด CFD นั้น ต้องนึกถึงการลงทุนแบบดั้งเดิม ที่หากคุณต้องการลงทุนในบริษัทใดบริษัทหนึ่ง คุณก็จะต้องซื้อหุ้นของบริษัทนั้นที่ราคาหุ้นปัจจุบัน จากนั้นก็รอขายหุ้นนั้นๆ ในราคาที่สูงขึ้น เพื่อทำกำไรจากส่วนต่างของราคาซื้อและราคาขาย
การเทรดหรือการซื้อขาย CFD ก็ทำด้วยหลักการเดียวกัน นั่นก็คือคุณเข้าไปเปิดออเดอร์เทรดสินทรัพย์ที่ราคาหนึ่งๆ จากนั้นก็รอให้ราคาปรับเพิ่มขึ้นหรือลดลง แต่ข้อแตกต่าง คือ การเทรด CFD คุณจะไม่ได้เป็นผู้ถือครองสินทรัพย์นั้นจริง แต่ CFD คือเครื่องมือ (ตราสารอนุพันธ์) ที่สะท้อนราคาของสินทรัพย์อ้างอิง ทำให้คุณสามารถ "เก็งกำไรได้ทั้งขาขึ้นและขาลง" โดยไม่จำเป็นต้องซื้อสินทรัพย์นั้นจริงๆ
การเทรด CFD ทำกำไรอย่างไร
หากเราตัดเอาคำศัพท์ทางเทคนิคอย่างเช่น 'สัญญา' และ 'สินทรัพย์อ้างอิง' ออกไป CFD คือตัวสร้างโอกาสในการทำกำไรจากการขึ้นลงของราคาตลาดนั่นเอง
ซึ่งสามารถทำได้โดย
- เปิดบัญชีเทรดกับโบรกเกอร์ CFD
- ดาวน์โหลดโปรแกรมหรือแพลตฟอร์มสำหรับเทรด CFD จากโบรกเกอร์ที่เปิดบัญชีด้วย
- เลือกประเภทของสินทรัพย์ที่ต้องการเทรด
- เก็งกำไรโดยคาดการณ์ว่าราคาของสินทรัพย์จะปรับขึ้นหรือลง
ตัวอย่างเช่น ราคาทองคำอยู่ที่ $1,500 ต่อออนซ์ และคุณคาดว่าราคาจะปรับตัวสูงขึ้น คุณก็สามารถเปิดคำสั่งเทรด 'buy' ในแพลตฟอร์ม MT5 ของคุณได้เลย เมื่อราคาทองคำเพิ่มสูงขึ้น คุณก็สามารถปิดคำสั่ง buy ซึ่งเท่ากับเป็นการขายออก เพื่อทำกำไรจากส่วนต่างของราคาซื้อและราคาขาย
หากคุณเปิด buy ที่ราคา $1,500 และปิดคำสั่งเทรดเมื่อราคาทองคำปรับสูงขึ้นไปแตะที่ $1,525 คุณก็จะทำกำไรจากการเทรดได้ $25 (นี่เป็นเพียงการยกตัวอย่างแบบง่ายๆ)
ในทางตรงกันข้าม หากคุณคิดว่าราคาทองคำมีแนวโน้มจะตกลง คุณก็ต้องเปิดคำสั่งเทรด 'sell' เมื่อราคาลดลงจริงๆ คุณก็สามารถปิดคำสั่ง sell ซึ่งจะเท่ากับเป็นการ "ซื้อกลับ" หลังจากได้ "ขายก่อน" ไปแล้ว ดังนั้น หากคุณ sell ทองคำที่ราคา $1,500 และปิดคำสั่งเทรดเมื่อราคาทองคำตกลงไปอยู่ที่ $1,450 คุณก็จะทำกำไรจากการเทรดได้ $50
แน่นอนว่า หากตลาดไม่ได้วิ่งไปในทิศทางเดียวกันกับคุณ คุณก็จะขาดทุน ดังนั้น คุณต้องศึกษาหลักการเทรดและเทคนิคการวิเคราะห์ตลาดควบคู่ไปด้วย และเราแนะนำให้คุณทดสอบในบัญชีทดลองเทรด ซึ่งจำลองเงินให้คุณเทรดจนชำนาญได้เรื่อย ๆ คลิกเปิดบัญชีฟรีที่ปุ่มด้านล่าง!
CFD มีอะไรบ้าง ?
CFD คือ อนุพันธ์ของสินทรัพย์ต่างๆ จึงสามารถนำมาใช้เป็นตัวแทนของตลาดใดๆ ก็ได้ และโบรกเกอร์หลาย เจ้า (รวมถึง Admirals ด้วย) ก็บริการให้เทรดเดอร์เข้าถึงตลาดการเงินเป็นพันๆ รายการได้ด้วยแพลตฟอร์มเทรดเดียวเท่านั้น
ตัวอย่างตลาดการเงินที่สามารถเทรด CFD ได้ เช่น คู่สกุลเงิน Forex, หุ้น, สินค้าโภคภัณฑ์, คริปโตฯ, ETF, ดัชนีหุ้น, พันธบัตร ฯลฯ ซึ่งนี่ก็รวมถึงการเข้าถึงตลาดที่ไม่อาจเข้าเทรดได้ในรูปแบบอื่นอย่างเช่นตลาดดัชนีหุ้นด้วย
1. CFD Forex
CFD Forex คือ การซื้อขายที่คุณสามารถเทรดคู่สกุลเงินได้หลากหลายคู่ ทั้งคู่สกุลเงินหลัก อย่างเช่น EUR/USD, GBP/USD, USD/JPY และ AUD/USD คู่สกุลเงินรอง อย่างเช่น EUR/GBP และ AUD/NZD รวมถึงคู่สกุลเงินแปลกใหม่ อย่าง USD/CZK ได้
ตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศนั้นมีการเก็งกำไรและมีความผันผวนสูง ซึ่งเปิดโอกาสทำกำไรให้กับเทรดเดอร์ที่เชี่ยวชาญได้ไม่น้อย โดยตลาด Forex ยังเปิดทำการตลอด 24 ชั่วโมง 5 วันต่อสัปดาห์อีกด้วย หมายความว่าคุณสามารถตั้งเวลาเทรดให้สัมพันธ์กับกิจกรรมอื่นๆ ของคุณได้
CFD Forex ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก คือ
- EUR/USD
- GBP/USD
- USD/JPY
- EUR/GBP
2. CFD ดัชนี
CFD ดัชนี คือ โอกาสทำกำไรที่ดีเยี่ยมอีกทางหนึ่งสำหรับเทรดเดอร์มือใหม่ที่ต้องการทำกำไรจากการเคลื่อนไหวของตลาดโดยรวม แต่ยังไม่แน่ใจว่าจะลงทุนในหุ้นตัวไหนหรือในตราสารประเภทไหนดี
ดัชนีหุ้นเป็นเหมือนตัวแทนของหุ้นที่ถูกเลือกขึ้นมาแล้ว (เช่น ดัชนีหุ้น DAX คือตัวแทนหุ้นของบริษัท 40 บริษัทที่ใหญ่ที่สุดและมีสภาพคล่องที่สุดในตลาดหลักทรัพย์แฟรงก์เฟิร์ต ในขณะที่ดัชนีหุ้น S&P500 จะเป็นตัวแทนหุ้นของบริษัทที่ใหญ่ที่สุด 500 บริษัทของสหรัฐฯ) โดยดัชนีหุ้นดังกล่าวสามารถใช้เป็นตัววัดความสามารถของตลาดโดยรวมได้ ซึ่งคุณจะไม่สามารถทำการซื้อหรือขายดัชนีได้ด้วยการลงทุนแบบดั้งเดิม แต่จะสามารถเทรดได้ด้วย CFD ดัชนีแทน
CFD ดัชนีที่ได้รับความนิยมมาก เช่น
3. CFD สินค้าโภคภัณฑ์
คุณสามารถเทรด CFD สินค้าโภคภัณฑ์ได้ด้วยเช่นกัน ซึ่งมีทั้งโลหะอย่างเช่นทองคำ และเงิน, พลังงานอย่าง เช่นน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ และสินค้าเกษตรกรรมอย่างเช่นกาแฟ, คอตต้อน และน้ำส้ม
ในการลงทุนแบบดั้งเดิมนั้น คุณจะต้องเตรียมเงินที่ต้องจ่ายในปริมาณที่มากกว่ามาก นี่ยังไม่รวมถึงการจัดเก็บสินค้าที่ซื้อมาด้วย แต่สำหรับ CFD สินค้าโภคภัณฑ์นั้นคุณเพียงแต่เทรดจากการเปลี่ยนแปลงของราคาสินทรัพย์เท่านั้นโดยที่ไม่ต้องครอบครองสินทรัพย์นั้นจริงๆ
CFD สินค้าโภคภัณฑ์ที่ได้รับความนิยม คือ
- CFD ทองคำ Spot gold
- CFD เงิน Spot
- CFD น้ำมันดิบ Brent
- CFD น้ำมันดิบ WTI
พร้อมที่จะเทรดแล้วรึยัง เริ่มต้นสู่การเทรดCFD ด้วยการคลิกที่แบนเนอร์ด้านล่าง
4. CFD หุ้น
หุ้นก็สามารถเทรดด้วย CFD ได้เช่นกัน โดยมีข้อดีหลายๆ ประการด้วยกัน ข้อแรกคือในการเทรด long (หรือซื้อ) คุณจะสามารถรับเงินปันผลของหุ้นอ้างอิงในคำสั่งเทรดด้วย CFD ของคุณได้ จึงเหมือนกับการได้รับรายได้อีกต่อหนึ่ง CFD หุ้นก็เหมือนกับ CFD ตราสารอื่นๆ ที่มีข้อดีในเรื่องของเลเวอเรจซึ่งให้คุณสามารถเข้าซื้อขายหุ้นในปริมาณที่มากขึ้นกว่าตอนที่ใช้การลงทุนแบบดั้งเดิมด้วยเงินทุนที่มีอยู่จริง นอกจากนี้ยังสามารถเทรด short ใน CFD หุ้นได้ด้วยซึ่งทำให้ทำกำไรได้แม้จะเป็นตลาดขาลงก็ตาม
CFD หุ้นที่ได้รับความนิยม ได้แก่
- CFD หุ้น Apple
- CFD หุ้น Facebook
- CFD หุ้น Google
- CFD หุ้น Netflix
- CFD หุ้น Tesla
ข้อดีของการเทรด CFD
ถึงแม้ว่าจะมีโบรกเกอร์ CFD มากมายที่อยากจะร่ายยาวข้อดีของการเทรด CFD แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่จะแยกออกว่าอันไหนเชื่อได้อันไหนเชื่อไม่ได้ แล้วทุกอย่างที่โบรกเกอร์เหล่านี้บอกว่านั้นจริงหรือเปล่า หรือเป็นแค่แผนการขายเท่านั้น
ในบทความนี้ คุณจะได้ทราบถึงประโยชน์หรือข้อดีโดยรวมที่น่าเชื่อถือได้ของการเทรด CFD รวมไปถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้จากการเทรด CFD ด้วย
1. การซื้อขาย CFD ช่วยให้ลงทุนเกินจำนวนได้ (เลเวอเรจ)
หนึ่งในข้อดีที่ไม่พูดถึงไม่ได้เลยของ CFD คือการใช้ผลิตภัณฑ์เลเวอเรจ ซึ่งหมายความว่าคุณสามารถเข้าถึงตลาดในสัดส่วนที่ใหญ่ขึ้นกว่าเงินทุนที่มีอยู่จริงในบัญชีที่สามารถลงทุนซื้อสินทรัพย์ได้ (หรือที่เรียกว่ามาร์จิ้น/เงินประกันนั่นเอง)
ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับตราสารที่คุณต้องการเทรด, องค์กรกำกับดูแลในภูมิภาคของคุณ และโบรกเกอร์ที่คุณใช้บริการ ซึ่งสำหรับเทรดเดอร์มืออาชีพจะสามารถเปิดเทรดได้ที่มูลค่าสูงสุดถึง 500 เท่าของจำนวนเงินในบัญชีของคุณ ส่วนเทรดเดอร์รายย่อยนั้น ในตราสารบางประเภทก็อนุญาตให้สามารถเทรดได้ที่มูลค่าสูงสุดถึง 30 เท่าของเงินทุนที่มีอยู่จริง
ดังนั้น หากคุณมีเงินทุนอยู่ในบัญชี $1,000 และมีเลเวอเรจอยู่ในอัตราส่วน 1:30 คุณก็จะมีเงินทุนเพิ่มขึ้นอีก $30 ในทุก ๆ $1 ในบัญชีของคุณ นั่นหมายถึงคุณสามารถทำการเทรดได้ที่มูลค่าสูงสุดถึง $30,000 เลยทีเดียว
เราลองย้อนกลับไปดูตัวอย่างการลงทุนทองคำกันอีกครั้ง หากคุณต้องการซื้อทองคำ 1 ออนซ์ซึ่งมีมูลค่า $1,5000 คุณก็จะต้องจ่ายเงินซื้อเป็นจำนวน $1,500 แต่ในการเทรด CFD คุณสามารถเปิดคำสั่งเทรดทองคำในมูลค่าเท่ากันแต่ใช้เงินซื้อเพียงแค่เสี้ยวเดียวของมูลค่าดังกล่าวเท่านั้นเอง
หากคุณเลือกเทรดกับโบรกเกอร์ CFD ที่ให้ค่าเลเวอเรจ 1:20 ก็หมายความว่าทุก ๆ $1 ในบัญชีของคุณ จะทำให้คุณสามารถเทรดทองคำในมูลค่า $20 ได้ ดังนั้นหากคุณต้องการเปิดคำสั่งเทรดทองคำปริมาณ 1 ออนซ์ที่มูลค่า $1,500 คุณก็จะต้องเตรียมมาร์จิ้นหรือเงินประกันในบัญชีเป็นจำนวน $300
นี่แสดงให้เห็นว่าแม้ว่าจะใช้เงินทุนในจำนวนแค่น้อยนิด แต่คุณก็ยังสามารถทำกำไร (หรือขาดทุน) ได้ในปริมาณที่พอๆ กันกับการลงทุนแบบดั้งเดิม จะมีความแตกต่างก็คือผลตอบแทนจากการลงทุนขั้นต้นจะสูงกว่ามาก แต่ก็มีความเสี่ยงด้วยเช่นกันคือเมื่อเทรดเสียก็จะต้องขาดทุนในปริมาณที่มากขึ้นเหมือนกับตอนที่กำไรด้วยเช่นกัน
เทรด CFD ทองคำ | การลงทุนแบบดั้งเดิม | |
---|---|---|
เงินทุนของคุณ | $300 | $1,500 |
เปิดคำสั่งเทรด long ทองคำ ที่ราคา $1,500 และปิดที่ราคา $1,525 | ทำกำไรได้ $25 หรือ 8.33% | ทำกำไรได้ $25 หรือ 1.67% |
เปิดคำสั่งเทรด long ทองคำ ที่ราคา $1,500 และปิดที่ราคา $1,450 | ขาดทุน $50 หรือ 16.67% | ขาดทุน $50 หรือ 3.33% |
คุณจะมองเห็นเลเวอเรจ CFD ในอัตราส่วนระดับต่างๆ ว่าทำงานอย่างไรได้ชัดเจนขึ้นในอินโฟกราฟิกด้านล่างนี้
2. การซื้อขาย CFD สามารถทำกำไรได้ทั้ง 'ขาขึ้น' และ 'ขาลง'
ข้อเสียของการลงทุนแบบดั้งเดิมก็คือ คุณจะสามารถทำกำไรได้ก็ต่อเมื่อตลาดปรับตัวไปในทิศทางขาขึ้นเท่านั้น หากเกิดวิกฤติในตลาดหรือหนึ่งในสินทรัพย์ที่คุณลงทุนไปมีราคาที่ตกต่ำลง ก็อาจส่งผลในทางลบให้กับพอร์ตการลงทุนของคุณทั้งพอร์ตเลยก็ได้
แต่การเทรด CFD นั้นจะเปิดให้คุณสามารถเทรดได้ทั้ง long และ short หมายความว่าคุณสามารถทำกำไรได้ทั้งสองทางไม่ว่าจะเป็นตลาดขาขึ้นหรือตลาดขาลง
การเทรด long ใน CFD คือเทรดเดอร์คาดว่ามูลค่าของสินทรัพย์จะเพิ่มขึ้น จึงทำการเปิดคำสั่งเทรด 'buy/ซื้อ' เมื่อสินทรัพย์มีราคาต่ำ จากนั้นก็ทำการขาย (หรือปิดเทรด) ที่ราคาที่สูงกว่าเพื่อทำกำไร (หากตลาดพลิกผันและราคาปรับตัวลดลง ก็จะกลายเป็นขาดทุนแทน)
การเทรด short ใน CFD คือ เทรดเดอร์คาดว่ามูลค่าของสินทรัพย์จะลดลง จึงทำการเปิดคำสั่งเทรด 'sell/ขาย' และปิดเทรดที่ราคาต่ำลงเพื่อทำกำไรจากส่วนต่างของราคา หลักการก็เหมือนกับการเทรด long คือเมื่อราคาสินทรัพย์ปรับตัวในทิศทางตรงกันข้ามจากที่คาดการณ์ไว้เมื่อไหร่ ก็เท่ากับว่าคุณขาดทุนนั่นเอง
ด้วยคุณสมบัติของการเทรด CFD ที่สามารถทำการเทรดได้ทั้ง long และ short ทำให้เทรดเดอร์สามารถเลือกทำกำไรได้ในทุกสภาวะตลาด
วิธีเทรด CFD เริ่มอย่างไรดี ?
มาถึงตอนนี้คุณคงจะพอเข้าใจกระบวนการและข้อมูลสำคัญของการเทรด CFD ว่าคืออะไร รวมถึงข้อดีข้อเสียแล้วทีนี้คุณอาจจะกำลังสงสัยอยู่ว่าแล้วจะเริ่มเทรด CFD ยังไงดีล่ะ วิธีการเทรด CFD ก็มีขั้นตอนอยู่นิดหน่อย ซึ่งเราได้ทำเป็นคู่มือเบื้องต้นง่ายๆ สำหรับการเริ่มต้นเทรด CFD ที่คุณสามารถทำตามได้ดังนี้
1. ใครเทรด CFD ได้บ้าง
การเทรด CFD สามารถทำได้ทุกคนที่มีอายุมากกว่า 18 ปีขึ้นไป และมักจะดึงดูดเทรดเดอร์ที่ต้องการ
- กระจายพอร์ตลงทุนในส่วนของประเภทสินทรัพย์
- กระจายพอร์ตลงทุนในส่วนของกรอบระยะเวลาลงทุน (มีการลงทุนทั้งระยะสั้นและระยะยาว)
- ทดลองกลยุทธ์เทคนิคและสไตล์การเทรดแบบต่าง ๆ ทั้งการเทรดภายในหนึ่งวัน (intraday trading), สวิงเทรด และ scalping
- เก็งกำไรทั้งในตลาดขาขึ้นและตลาดขาลง
คุณไม่จำเป็นต้องมีปริญญาหรือมีความรู้ในด้านการเงินก็สามารถลงทุนใน CFD ได้ แต่ถึงอย่างนั้น ก็ยังเป็นเรื่องจำเป็นที่คุณจะต้องหาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับตลาด, กลยุทธ์เทคนิคการเทรด, การบริหารความเสี่ยง และการบริหารเงินทุนเพื่อเพิ่มโอกาสสร้างผลตอบแทนที่เป็นกำไรให้กับการลงทุนของคุณให้ได้มากที่สุด
ด้วยเหตุนี้ ทำไมไม่ลองลงทะเบียนรับความรู้ฟรีในสัมนาการเทรดออนไลน์ Webinar กับ Admirals ดูละ โดยใน Trading Spotlight series ของเรา จะมีเทรดเดอร์มือโปรถึง 3 คนด้วยกันมาร่วมเสวนากับเราถึงสัปดาห์ละ 3 ครั้งในหัวข้อต่าง ๆ เกี่ยวกับการเทรด CFD ที่เป็นที่นิยมที่สุดในโลก ไม่ว่าจะเป็นความผันผวนของตลาด, กลยุทธ์เทคนิคการเทรดสำหรับมือใหม่, จิตวิทยาในการเทรด และอื่น ๆ อีกมากมาย
การเทรด CFD กับความเสี่ยง
การเทรด CFD ก็เหมือนกับการลงทุนอื่นๆ ที่จะต้องมีความเสี่ยงเข้ามาเกี่ยวข้องอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ CFD คือผลิตภัณฑ์ที่มีความซับซ้อน ทำให้มีความเสี่ยงค่อนข้างสูง จึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งที่คุณควรจะต้องทำการศึกษาค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับ CFD เสียก่อนเริ่มเทรด
1. ความเสี่ยงในการเทรด CFD มีอะไรบ้าง
ความเสี่ยวประการแรกจากการเทรด CFD ก็คือความเสี่ยงด้านตลาด หากตลาดดำเนินไปในทิศทางที่คุณเลือกเทรด ก็จะทำให้คุณได้กำไร แต่ถ้าหากตลาดไม่ได้ดำเนินไปในทิศทางนั้นแต่กลับเป็นไปในทางตรงกันข้ามเมื่อไหร่ คุณก็ต้องสูญเงินเมื่อนั้น ซึ่งก็เป็นหลักการเดียวกันกับการเทรดและการลงทุนในรูปแบบอื่น
แต่เพราะ CFD นั้นได้ประโยชน์จากการใช้เลเวอเรจ จึงทำให้เมื่อเทรดเสีย จะต้องสูญเงินในจำนวนที่มากขึ้นเมื่อเทียบกับเงินลงทุนขั้นต้น ดังที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น CFD นั้นเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีเลเวอเรจ ซึ่งเพิ่มความสามารถในการเทรดให้คุณเทรดได้ในปริมาณที่มากขึ้นโดยไม่ต้องใช้เงินลงทุนมากขึ้นตามไปด้วย จึงเพิ่มขีดความสามารถในการทำกำไรได้มากขึ้น แต่ก็เพิ่มมูลค่าการสูญเสียให้มากขึ้นตามไปด้วยเช่นกัน หากลงทุนด้วยเงินจำนวน 5,000 ยูโร คุณอาจจะทำกำไรได้มากถึง 50,000 ยูโร แต่ก็มีโอกาสเสียเงินในจำนวนเท่ากันได้ด้วยเช่นกัน
ในตลาดที่มีความผันผวนสูง นี่อาจทำให้เงินในบัญชีของคุณลดลงจนติดลบต่ำกว่า 0 ได้หรือที่เรียกว่าวงเงินติดลบในบัญชี จึงควรให้ความสำคัญกับการเลือกโบรกเกอร์ที่มีนโยบายคุ้มครองวงเงินติดลบในบัญชีให้ด้วย
2. เวลาทำการเทรด CFD
- CFD Forex: เวลาทำการ 24 ชั่วโมงต่อวัน 5 วันต่อสัปดาห์
- CFD ดัชนี: เวลาทำการ 24 ชั่วโมงต่อวัน 5 วันต่อสัปดาห์
- CFD หุ้น: เวลาทำการขึ้นอยู่กับเวลาทำการของตลาดหลักทรัพย์ที่เกี่ยวข้อง
- CFD สินค้าโภคภัณฑ์: เวลาทำการ 24 ชั่วโมงต่อวัน 5 วันต่อสัปดาห์
- CFD คริปโตเคอเรนซี่: เวลาทำการ 24 ชั่วโมงต่อวัน 7 วันต่อสัปดาห์
ในหนึ่งสัปดาห์สามารถเทรด CFD Forex, สินค้าโภคภัณฑ์ และดัชนีได้ตั้งแต่เที่ยงคืนของคืนวันอาทิตย์ไปจนถึงเวลา 23:00 น.ของวันศุกร์ตามเวลาลอนดอน
ตามปกติแล้ว ช่วงเวลาที่มีการซื้อขายมากที่สุดในการเทรด CFD (ซึ่งการเปลี่ยนแปลงของราคามักจะผันผวนมากที่สุด) คือช่วงคาบเกี่ยวของตลาดการเงินต่าง ๆ ดังนั้นเทรดเดอร์ส่วนใหญ่จึงถือว่าช่วงเวลาสำคัญที่สุดในการเทรดก็คือ
- ลอนดอน: 8:00 – 17:00 น. GMT
- นิวยอร์ก: 13:00 – 22:00 น. GMT
- สิงคโปร์: 8:00 – 17:00 น. GMT
- โตเกียว: 0:00 – 9:00 น. GMT
โดยทั่วไปแล้วเวลาทำการของตลาดฝั่งเอเชียจะเงียบที่สุดในตราสารส่วนใหญ่
3. วันหมดอายุของ CFD
ข้อดีอีกหนึ่งประการของการเทรด CFD ก็คือ CFD ตราสารส่วนใหญ่ไม่มีวันหมดอายุ อาจจะมีบางตลาดที่มีวันหมดอายุในการเทรด แต่สำหรับ CFD หุ้นแล้ว ไม่มีวันหมดอายุ ทำให้คุณสามารถปิดสถานะสัญญา CFD หุ้นเมื่อไหร่ก็ได้ที่ต้องการ
นี่จึงถือเป็นประโยชน์อย่างมากในการเทรดระยะยาว เพราะไม่ต้องมานั่งกังวลว่าจะต้องปิดสถานะสัญญาก่อนที่จะกำไรได้จริงเพราะ CFD กำลังจะหมดอายุ (แต่ก็มีกรณีอื่น ๆ ที่สถานะสัญญาการเทรดของคุณถูกปิดโดยอัตโนมัติ เช่น เมื่อมีเงินทุนไม่เพียงพอในบัญชีสำหรับการเทรด)
แน่นอนว่าต้องมีข้อยกเว้นอยู่บ้าง อย่างเช่น CFD ฟิวเจอร์สสินค้าโภคภัณฑ์ ซึ่งจะมีวันหมดอายุของฟิวเจอร์ส แต่ก็ไม่จำเป็นว่าคุณต้องรอจนกว่าจะถึงวันหมดอายุจึงจะปิดสถานะสัญญาฟิวเจอร์สได้ เพราะคุณสามารถปิดสถานะได้เองภายในเวลาที่กำหนด
4. ค่าใช้จ่ายในการเทรด CFD
อีกหนึ่งสิ่งที่จะไม่พูดถึงไม่ได้เลยก็คือค่าใช้จ่ายในการเทรด CFD ซึ่งมักจะต่ำกว่าวิธีการลงทุนรูปแบบอื่น โดยเราได้กล่าวไปแล้วข้างต้นถึงการลงทุนแบบดั้งเดิมที่คุณต้องชำระเงินเต็มจำนวนของมูลค่าสินทรัพย์ที่ต้องการลงทุน แต่ในการเทรด CFD คุณสามารถเทรดด้วยมาร์จิ้นหรือเงินประกันขั้นต่ำที่น้อยกว่า
นอกจากนี้ CFD ยังไม่มีค่าธรรมเนียมในการเปิดหรือปิดสถานะสัญญาอีกด้วย แต่โบรกเกอร์ CFD ส่วนใหญ่จะมีการเรียกเก็บในส่วนที่เรียกว่า 'สเปรด' แทน
ถ้าคุณเข้าไปดูแพลตฟอร์มเทรด CFD ใด ๆ ก็ตาม จะเห็นว่ามีราคาแสดงอยู่ 2 ราคาด้วยกัน - ราคาแรกคือราคาที่ซื้อ CFD และราคาที่สองเป็นราคาที่ขาย CFD ซึ่งรู้จักกันโดยทั่วไปว่าเป็นราคา bid (ซื้อ) และราคา ask (ขาย) โดยจะสังเกตได้ว่ามีส่วนต่างระหว่างราคาทั้งสองอยู่ และส่วนต่างราคานี่แหละที่เรียกว่า 'สเปรด'
เมื่อเปิดคำสั่งเทรด buy/ซื้อ หรือเทรด long คุณจะทำกำไรจากการเทรดนี้ได้ก็ต่อเมื่อราคาของสินทรัพย์อ้างอิงขึ้นไปมากกว่าค่าสเปรดแล้ว ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณเทรดทองคำด้วยราคา bid $1,500 และราคา ask $1,501 ราคาทองคำนั้นจะต้องขึ้นไปถึง $1,501 ก่อน คุณถึงจะเท่าทุน และราคาจะต้องขยับขึ้นไปอีก คุณถึงจะทำกำไรจากการเทรดนี้ได้ โดย $1 นี้จะจ่ายให้กับโบรกเกอร์นั่นเอง
ในตราสารบางประเภทอาจมีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียม อย่างเช่นหุ้นและ CFD หุ้น นอกจากนี้ หากคุณเปิดสถานะสัญญาข้ามคืน คุณก็อาจจะต้องจ่ายค่าบริการเพิ่มเติมซึ่งเรียกว่า 'สว็อป' (swap) ด้วย
คุณสามารถคำนวณค่าธรรมเนียมในการเทรด CFD ได้ฟรีด้วย ซึ่งสามารถดูรายละเอียดการคำนวณการเทรด CFD ของเราที่นี่ ซึ่งค่าบริการเหล่านี้ถือว่าน้อยมากๆ เมื่อเทียบกับค่าบริการนายหน้าในการซื้อขายผ่านโบรกเกอร์แบบดั้งเดิม
กลยุทธ์การเทรด CFD
หากจะกล่าวถึงรูปแบบวิธีการเทรดแล้ว หนึ่งสิ่งที่จะต้องพูดถึงก็คือสไตล์การเทรด ซึ่งสำหรับ CFD แล้วมีหลายสไตล์ด้วยกัน และหลาย ๆ สไตล์ก็จะเริ่มจากกรอบระยะเวลาที่ต้องการเทรด ตั้งแต่ scalping ที่จะมีการเทรดซื้อขายภายในไม่กี่นาที ไปจนถึงการเทรดระยะยาว
1. เลือกระเบียบวิธีในการเทรด CFD ของตัวเอง
เมื่อคุณเตรียมเครื่องมือพื้นฐานสำหรับการเทรดครบพร้อมแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็คือระเบียบวิธีการเทรด CFD ของคุณ เนื่องจากมีโอกาสทำกำไรจากการเทรดมากมายในหลาย ๆ ตลาดการเงิน คุณจึงต้องมีแผนเข้าเทรดทำกำไรเตรียมเอาไว้
ต่อไปนี้เป็นองค์ประกอบที่ควรนำไปพิจารณาเพื่อเลือกใช้ในระเบียบวิธีการเทรดของคุณ
- กิจวัตรประจำวัน: คุณจะเข้าดูติดตามความเคลื่อนไหวของตลาดในช่วงเวลาไหนของแต่ละวัน แล้วจะคอยติดตามดูอยู่เรื่อย ๆ หรือจะให้มีการเปิดปิดคำสั่งเทรดอัตโนมัติไปเลยในตอนที่คุณไม่ได้เฝ้าอยู่ที่หน้าจอ
- สไตล์การเทรด: คุณเป็นเทรดเดอร์ประเภทไหน เป็นเดย์เทรดเดอร์, scalper, สวิงเทรดเดอร์หรือต้องการเทรดแบบระยะยาว
- ตลาดที่เทรด: คุณต้องการเทรดในตลาดไหน ตลาดหุ้น, ตลาด Forex, ตลาดสินค้าโภคภัณฑ์, ตลาดดัชนี หรือตลาดคริปโต
- กลยุทธ์เทคนิคการเทรด: คุณจะทำการตัดสินใจเทรดอย่างไรในการเข้าซื้อ, ขาย หรือออกจากสถานะสัญญาเมื่อทำกำไรได้หรือขาดทุน
- การบริหารความเสี่ยง:จะต้องมีการกำหนดขนาดของสถานะสัญญา, จุดหยุดขาดทุน และจุดทำกำไรเพื่อจำกัดความเสี่ยงในการเทรดของคุณ
- ข้อมูลสนับสนุน: คุณเพิ่มความรู้ด้านการเทรดให้กับตนเองบ่อยแค่ไหน ได้เข้าอ่านบทความที่ให้ความรู้ และการสอนเทรดต่าง ๆ เพื่อพัฒนาทักษะการเทรดให้กับตนเองหรือไม่
คุณอาจจะยังไม่ทราบคำตอบของคำถามบางข้อข้างต้นในตอนนี้ แต่ไม่ต้องกังวลไป เพราะเราจะอธิบายเพิ่มเติมต่อไปเกี่ยวกับสไตล์การเทรด, การเทรดด้วยตนเอง vs การเทรดอัตโนมัติ และชนิดของการวิเคราะห์ ซึ่งจะช่วยหาคำตอบให้คุณได้อย่างแน่นอน
แต่อย่างไรก็ตาม สิ่งที่สำคัญมากก็คือการเทรดนั้นต้องอาศัยการฝึกฝนเป็นหลัก ดังนั้นการเปิดบัญชีเทรดจริงหรือบัญชีทดลอง และคอยสังเกตดูว่าตลาดมีความเคลื่อนไหวอย่างไร จะทำให้คุณเข้าใจเกี่ยวกับการเทรดในตลาดการเงินต่าง ๆ ของโลกได้มากยิ่งขึ้น
2. CFD scalping
'Scalping' คือรูปแบบการเทรดอย่างหนึ่งซึ่งเทรดเดอร์มักจะเปิดและปิดคำสั่งภายในไม่กี่นาที ในกรณีส่วนใหญ่เทรดเดอร์แบบ scalping จะทำกำไรได้แค่ไม่กี่ pip ต่อเทรด (1 pip เท่ากับ 0.0001 ของมูลค่า CFD) ดังนั้นเทรดเดอร์ประเภทนี้มักจะต้องเทรดในปริมาณมาก และใช้เลเวอเรจสูงเพื่อให้ได้ปริมาณกำไรมากๆ
นี่ถือเป็นสไตล์การเทรดที่น่าตื่นเต้นไม่น้อยสำหรับตลาดที่มีความผันผวนสูง แต่ก็เป็นสไตล์การเทรดที่เสี่ยงมากเช่นกัน เพราะคุณอาจจะสูญเงินอย่างรวดเร็วพอ ๆ กับตอนที่ทำกำไรได้ ดังนั้นการเทรดสไตล์ scalping จึงไม่ค่อยเหมาะกับเทรดเดอร์มือใหม่นัก สำหรับเทรดเดอร์มือใหม่แล้วควรจะเริ่มที่การเทรดแบบระยะยาวจะดีที่สุด แต่หาการใจเรื่องการเทรดแบบ Scalping สามารถอ่านเพิ่มเติมที่นี่
การเทรด CFD ระยะสั้น
CFD ถือว่าเป็นอีกเครื่องมือหนึ่งที่มีประโยชน์ไม่น้อยสำหรับการเทรดระยะสั้น ซึ่งเปิดโอกาสให้คุณทำกำไรได้มากขึ้นจากการเคลื่อนไหวของราคาในช่วงระยะสั้นของตลาดหุ้น, ตลาดดัชนี หรือตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ โดยที่คุณไม่จำเป็นต้องวางเงินลงทุนเป็นจำนวนมาก
หากคุณกำลังคิดจะลองเทรดระยะสั้นดู หรือเทรดแบบ scalping สิ่งจำเป็นคือควรเลือกโบรกเกอร์ CFD ที่มีการดำเนินคำสั่งที่รวดเร็ว โบรกเกอร์ที่ดีจะต้องสามารถดำเนินคำสั่งเทรดได้ในเวลาน้อยกว่าวินาที เพราะความรวดเร็วในการดำเนินคำสั่งนั้นมีความจำเป็นอย่างมากสำหรับการเทรดในตลาดการเงินที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
3. Day CFD Trading (เทรด CFD แบบเดย์เทรด)
เดย์เทรด ก็คือการเทรดที่มีการเปิดและปิดคำสั่งภายในหนึ่งวัน ดังนั้นคำสั่งเทรดหนึ่งอาจจะกินเวลาหลายๆ ชั่วโมงได้ เดย์เทรดเดอร์มักจะพยายามเทรดในช่วงที่ทิศทางตลาดมีการพลิกผันซึ่งในบางครั้งจะมีความคล้ายกับ scalping อยู่ด้วย เพราะเป็นการเทรดตามทิศทางตลาด แต่จะใช้กรอบระยะเวลาการเทรดที่นานกว่า
4. Swing trading สำหรับ CFD (เทรด CFD แบบสวิงเทรด)
Swing trading เป็นสไตล์การเทรดที่มีกรอบระยะเวลาตั้งแต่ 1 วันไปจนถึง 1 สัปดาห์ เป้าหมายของสวิงเทรดก็คือการหาประโยชน์จากโมเมนตัมของตลาดว่าจะเป็นตลาดกระทิง (ตลาดขาขึ้น) หรือตลาดหมี (ตลาดขาลง)
5. การเทรด CFD แบบระยะยาว
สำหรับการเทรด CFD 'ระยะยาว' จะหมายถึงการเทรดใด ๆ ที่ยาวนานกว่า 1 สัปดาห์ แม้ว่าการเทรดแบบระยะยาวจะใช้การวิเคราะห์ทางเทคนิคในการตัดสินใจเทรดได้ แต่ส่วนใหญ่แล้วเทรดเดอร์ที่เทรด CFD ในสไตล์นี้มักจะใช้การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน และข้อมูลโดยรวมที่จะส่งผลกระทบต่อตลาดเสียมากกว่า
6. การเทรด CFD แบบเทรดด้วยตัวเอง vs เทรดอัตโนมัติ
นอกเหนือจากสไตล์การเทรดแล้ว วิธีเทรดที่เทรดเดอร์เลือกใช้ก็อาจแตกต่างกันไปในแต่ละคนด้วย ซึ่งเทรดเดอร์ส่วนใหญ่ก็จะมีการเลือกใช้วิธีเทรดด้วยตนเองและเทรดอัตโนมัติ
การเทรด CFD แบบเทรดด้วยตนเอง
ในการเทรด CFD แบบเทรดด้วยตนเอง เทรดเดอร์จะต้องทำการตัดสินใจเปิดคำสั่งซื้อหรือขายด้วยตนเอง และจะต้องทำการคลิกส่งคำสั่งเทรดด้วยตนเองเช่นกัน (หรือตั้งค่าล่วงหน้าสำหรับจุดหยุดขาดทุนและจุดทำกำไร)
สำหรับการตัดสินใจเทรดนั้น เทรดเดอร์สามารถเอาการวิเคราะห์รูปแบบต่าง ๆ มาใช้ประกอบการตัดสินใจได้ เช่น การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน, การวิเคราะห์ทางเทคนิค หรือการวิเคราะห์ Wave เป็นต้น ผู้เชี่ยวชาญบางคนแนะนำว่าเทรดเดอร์มือใหม่ควรเริ่มจากการใช้กลยุทธ์เทคนิคการเทรดแบบเทรดด้วยตัวเองก่อน เพราะถือเป็นวิธีที่ดีที่จะเรียนรู้ตลาดและการทำงานของตลาด แต่การเทรดรูปแบบนี้อาจจะมีความซับซ้อนอยู่สักหน่อยเนื่องจากเทรดเดอร์มือใหม่ยังมีกลยุทธ์เทคนิคการเทรดที่ไม่ชัดเจนพอ จึงทำให้ทำกำไรได้น้อยต่อการเทรด
การเทรด CFD แบบเทรดอัตโนมัติ
การเทรดนั้นสามารถใช้โปรแกรมช่วยเทรดอัตโนมัติบางส่วนหรือทั้งหมดเลยก็ได้ บางโปรแกรมก็จะเน้นแจ้งจุดหรือโอกาสที่จะทำกำไรได้ให้กับเทรดเดอร์ ส่วนบางโปรแกรมก็อาจจะทำการเปิดและปิดคำสั่งแทนเทรดเดอร์ไปเลยก็ได้
โปรแกรมเหล่านี้จะใช้อัลกอริธึมที่กำหนดขึ้นโดยเทรดเดอร์ซึ่งจะระบุเวลาที่ดีที่สุดที่จะเข้าหรือออกจากการเทรด ข้อดีหลัก ๆ ของการเทรดวิธีนี้คือสามารถกำจัดอารมณ์ความรู้สึกออกจากการเทรดได้และบังคับให้คุณปฏิบัติตามกลยุทธ์เทคนิคการเทรดที่กำหนดไว้ไปในตัว
การวิเคราะห์ CFD: จะวิเคราะห์ตลาด CFD อย่างไร
การวิเคราะห์ CFD นั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ด้วยกัน ได้แก่
การวิเคราะห์ทางเทคนิค และการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน การวิเคราะห์ทางเทคนิคมีความเชื่อว่าประวัติศาสตร์จะย้อนรอยเสมอ ดังนั้นการวิเคราะห์รูปแบบราคาในอดีตจะช่วยทำนายทิศทางการเปลี่ยนแปลงของราคา CFD ในอนาคตได้
ส่วนการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานนั้นจะเน้นไปที่ข่าวและเหตุการณ์ทางเศรษฐกิจโดยรวมซึ่งอาจส่งผลต่อสภาวะตลาด CFD
CFD คือ ? และวิธีการเทรด CFD จะต้องเริ่มอย่างไร ?
อย่างที่ได้เห็นกันไปแล้วว่าการเทรด CFD (หรือ Contracts of Difference/สัญญาซื้อขายส่วนต่าง) ได้เปิดโอกาสในการทำกำไรในตลาดหลาย ๆ ประเภทด้วยกัน โดยใช้เงินลงทุนเพียงน้อยนิด มีการใช้เลเวอเรจที่จะช่วยเพิ่มปริมาณผลกำไรที่จะได้ และความสามารถในการเทรด short หรือ long เพื่อทำกำไรได้ทั้งในตลาดขาขึ้นและตลาดขาลง
แต่ก็อย่างที่ทราบกันดีว่าการเทรด CFD ก็เหมือนกับการลงทุนรูปแบบอื่น ๆ ที่มีโอกาสที่จะขาดทุนพอ ๆ กับการทำกำไรได้
จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่คุณจะต้องมีความรู้ในเรื่องการเทรด CFD, เรื่องตลาด, มีกลยุทธ์เทคนิคการเทรดที่น่าเชื่อถือ และมีแพลตฟอร์มเทรดที่รวดเร็วซึ่งจะช่วยเพิ่มการสร้างผลกำไรให้ได้มากที่สุด
CFD คือ ? และคำถามที่พบบ่อย
สิ่งที่ต้องรู้ก่อนเทรด CFD คือ ?
สัญญาซื้อขายส่วนต่าง (CFD) ช่วยให้เทรดเดอร์สามารถเก็งกำไรความเคลื่อนไหวของตลาดในอนาคตของสินทรัพย์อ้างอิง โดยไม่ต้องเป็นเจ้าของหรือรับส่งมอบสินทรัพย์อ้างอิงจริงๆ CFD มีไว้สำหรับสินทรัพย์อ้างอิงหลายประเภท เช่น หุ้น สินค้าโภคภัณฑ์ และการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
ควรถือ CFD ไว้นานแค่ไหน ?
สัญญา CFD ไม่มีวันหมดอายุ นักลงทุนจึงสามารถถือครองตำแหน่ง CFD ที่เปิดอยู่ได้อย่างไม่มีกำหนด แต่จะต้องจ่ายหรือรับอัตราดอกเบี้ยข้ามคืนที่เชื่อมโยงกับอัตราดอกเบี้ยในประเทศที่อาศัย
ซื้อขาย CFD ยากไหม ?
การเทรดหรือการซื้อขาย CFD นั้นน่าดึงดูดสำหรับเดย์เทรดเดอร์ที่สามารถใช้เลเวอเรจเพื่อซื้อขายสินทรัพย์ที่มีราคาแพงกว่าในการซื้อและขาย
นอกจากนี้ CFD คือการเทรดที่ค่อนข้างมีความเสี่ยง เนื่องจากมีกฎระเบียบทางอุตสาหกรรมที่ต่ำ การอาจมีการขาดสภาพคล่องได้ นอกจากนี้ยังจำเป็นในการรักษามาร์จิ้นให้เพียงพอจากการสูญเสียจากเลเวอเรจจึงอาจไม่ใช่เรื่องง่ายนักสำหรับมือใหม่ แต่ก็ไม่ยากเกินไปที่จะเรียนรู้
บทความอื่นๆ ที่คุณอาจสนใจ
รู้จักกับ Admirals
Admirals เป็นโบรกเกอร์ Forex และ CFD ที่ชนะรางวัลมากมาย อีกทั้งได้รับ ใบอนุญาตและกำกับดูแลจากหลายประเทศทั่วโลก โดยให้บริการซื้อขายตราสารการเงินมากกว่า 8,000 รายการผ่านแพลตฟอร์มเทรดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลกอย่าง MetaTrader 4 และ MetaTrader 5 เริ่มเทรดเลยวันนี้
Disclaimer: เอกสารนี้ไม่มีและไม่ควรตีความว่ามีคำแนะนำการลงทุน, การให้คำปรึกษาด้านการลงทุน, ข้อเสนอหรือคำชักชวนให้ทำธุรกรรมใด ๆ ในตราสารทางการเงิน โปรดทราบว่า ในกรณีของการวิเคราะห์การซื้อขายใด ๆ ที่อ้างอิงถึงผลการดำเนินงานหรือสถิติในอดีต พฤติกรรมของข้อมูลดังกล่าวอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามกาลเวลา ก่อนที่จะตัดสินใจลงทุนใด ๆ คุณควรขอคำแนะนำจากที่ปรึกษาทางการเงินอิสระเพื่อให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจถึงความเสี่ยงเป็นอย่างดีแล้ว