ทุกเรื่องที่ควรรู้ก่อนเริ่มต้นลงทุนในตลาดหุ้นยุโรป!

การบูรณาทางเศรษฐกิจทั่วโลกที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งการรวมตัวของตลาดการเงินระหว่างประเทศทำให้เกิดส่วนแบ่งของกองทุนต่างประเทศในสถาบันการเงินต่างๆ มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริษัทข้ามชาติที่เข้าถึงตลาดการเงินต่างๆ ผ่านบริษัทสาขาที่ตั้งอยู่ทั่วโลกที่ไม่ได้มีจำกัดเฉพาะนักลงทุนสถาบันและองค์กรเท่านั้น แต่ยังรวมถึงนักลงทุนรายย่อยด้วย
ซึ่งในบทความนี้ เราจะนำคุณไปพบกับตลาดหุ้นยุโรปและภาคส่วนต่างๆ ที่นักลงทุนทั่วโลกต่างให้ความสนใจลงทุนตลาดหุ้นยุโรปไปพร้อมกันที่นี่!
รู้จักและเข้าใจตลาดหุ้นยุโรปก่อนเริ่มลงทุน
คุณรู้จักตลาดหุ้นยุโรปมากแค่ไหน ?
ตลาดหุ้นยุโรปสร้างและพัฒนาขึ้นในปี 1970 ด้วยเหตุผลหลัก 2 อย่าง คือ คือการเพิ่มภาษีในสหรัฐฯ ในปี 1964 และเพื่อจำกัดการโอนทุนโดยสมัครใจ เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ ในขณะนั้นอยู่ในระดับต่ำ เพื่อการกระตุ้นให้บริษัทต่างชาติกู้เงินในราคาถูก และการขึ้นภาษีมีวัตถุประสงค์เพื่อหยุดการให้กู้ยืมในสหรัฐฯ เนื่องจากเป็นการเพิ่มต้นทุนของเครดิต
นอกจากนี้ ข้อจำกัดในการโอนทุนโดยสมัครใจ ก็มีจุดประสงค์เพื่อลดการขาดดุลการค้าของสหรัฐฯ เนื่องจากบริษัทอเมริกันที่มีสาขาในยุโรปไม่สามารถส่งออกเงินทุนไปยังตลาดยุโรปได้ บริษัทเหล่านี้จึงเริ่มมองหาเงินกู้ในสหรัฐฯ แทน
นอกจากนี้ ประเทศต่างๆ เช่น อดีตสหภาพโซเวียตก็มีเงินในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ในจำนวนมาก แต่ก็กลัวที่จะนำเงินนั้นไปลงทุนในธนาคารของอเมริกาจุึงนำเงินเหล่านี้ไปลงทุนในตลาดยุโรป มี 2 ฝ่ายหลักในตลาดหุ้นยุโรป คือ
- ตลาดสกุลเงินยูโร (Eurocurrency Market) - โดยทั่วไปบริษัทหรือสถาบันการเงิน เช่น กองทุนรวมและกองทุนเฮดจ์ฟันด์ มักจะใช้สกุลเงินยูโรมในการรับเงิน จากความสามารถในการใช้สกุลเงินต่างประเทศอื่นๆ ซึ่งนับว่าเป็นแหล่งเงินทุนที่ได้เปรียบจากการรับเงินทุนระหว่างประเทศ
- ตลาดทุนยูโร (Euro Capital Market) - ตลาดเงินสำหรับสกุลเงินนอกประเทศ ที่มีการซื้อขายอย่างถูกกฎหมาย เช่น หุ้นและพันธบัตร เป็นต้น
ตลาดสกุลเงินยูโร (Eurocurrency Market)
ตลาดสกุลเงินยุโรป คือ ตลาดหลักสำหรับเงินฝากและเงินกู้ระยะกลางและระยะยาว การวางตำแหน่งหรือการกู้ยืมเงินทุนในสกุลเงินใดสกุลเงินหนึ่งนอกประเทศที่สกุลเงินนั้นดำเนินการ หมายความว่าธุรกรรมได้เกิดขึ้นในตลาดสกุลเงินยูโร
ซึ่งตลาดสกุลเงินยูโรนั้นอยู่นอกเหนือการควบคุม และหน่วยงานหลักที่ดำเนินการในตลาดนี้คือธนาคารในยุโรปและบริษัทระหว่างประเทศ โดยมีสกุลเงินหลักที่ซื้อขายกันในตลาดยูโร คือ USD หรือที่เรียกว่ายูโรดอลลาร์ (EUR/USD)
ในกรณีของเงินกู้ EUR/USD อัตราดอกเบี้ยเงินกู้พื้นฐานนั้นสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับอัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคารในลอนดอน (London Inter-Bank Offer Rate - LIBOR) ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยที่เสนอเงินฝากและเงินกู้ยืมระหว่างธนาคารในลอนดอน โดยมีระยะเวลาของเงินกู้สำหรับเงินกู้สกุลเงินยูโรนั้นมีความหลากหลาย โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 1 - 3 ปี สำหรับเงินกู้ระยะกลาง และ 4 -10 ปีสำหรับเงินกู้ระยะยาว
ตลาดสกุลเงินยูโรมีสภาพคล่องสูง ซึ่งหมายความว่าแม้แต่เงินฝากระยะสั้นในธนาคารในยุโรปก็อนุญาตให้เปลี่ยนเป็นเงินกู้ระยะกลางและระยะยาวได้ ไปพร้อมกับการรักษาระดับความปลอดภัยที่เหมาะสมและระดับสภาพคล่องของธนาคาร
ตลาดทุนยูโร (Euro Capital Market)
ยูโรบอนด์ หรือ Eurobond คือ ตราสารหนี้ที่มีผู้ถือซึ่งซื้อขายในตลาดหุ้น เช่นเดียวกับในกรณีของพันธบัตรทั่วไป โดยผู้ออก Eurobond ตกลงที่จะจ่ายเงินเป็นจำนวนเงินพร้อมดอกเบี้ยให้กับผู้ถือหลังจากช่วงระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งจะชำระเป็นงวดเดียวหรือผ่อนชำระตามวันที่กำหนดก็ได้ อย่างไรก็ตาม ยูโรบอนด์ก็อาจมีการเสนอขายในสกุลเงินอื่นที่ไม่ใช่สกุลเงิน EUR และบ่อยครั้งที่ Eurobonds ก็เป็นสกุลเงินยูโร ดอลลาร์สหรัฐ (EUR USD)
ทั้งนี้ ก็ยังมีพันธบัตรที่ออกในต่างประเทศโดยรัฐบาลหรือบริษัทในสกุลเงินอื่นที่ไม่ใช่สกุลเงินของประเทศผู้ออก ยูโรบอนด์จึงมักเป็นตราสารหนี้ระยะยาว ซึ่งโดยทั่วไปจะเป็นสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (USD)
การซื้อขายพันธบัตรที่ออกใหม่ของ Eurobond จะมีจำหน่ายในตลาดยุโรปและในตลาดโลกเป็นหลัก ในทางกลับกันก็มีการเสนอขายพันธบัตรในตลาดรองก่อนวันไถ่ถอน ซึ่งเป็นผลมาจากการจัดการของอุปสงค์และอุปทาน ราคาตลาดถูกสร้างขึ้นบนพื้นฐานของมัน
ประเภทของยูโรบอนด์ (Eurobond)
ตราสารหนี้ยูโร Eurobond มีลักษณะที่สามารถแบ่งประเภทได้หลายอย่าง ดังนี้
- ภาคสาธารณะ (Public sector) - รัฐบาล รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานท้องถิ่น
- ภาคการเงินเอกชน (Private financial sector) - ธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงิน
- ภาคเอกชนที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน (Non-financial private sector) - บริษัทเอกชน บริษัทร่วมทุน และบริษัทระหว่างประเทศขนาดใหญ่
- ภาคองค์การระหว่างประเทศ (International Organizations Sector) - ธนาคารโลก ธนาคารเพื่อการลงทุนแห่งยุโรป
นอกจากนี้ยังมีตลาดตราสารหนี้ในตลาดยุโรปอีก 2 ประเภท ที่ใช้สกุลเงินยูโร คือ
- Yankee bonds - พันธบัตรต่างประเทศที่ออกโดยบริษัทของสหรัฐฯ นอกตลาดสหรัฐฯ
- Samurai bonds - พันธบัตรต่างประเทศของบริษัทญี่ปุ่นและธนาคารที่ออกนอกประเทศญี่ปุ่น
นอกจากนี้ พันธบัตรยังสามารถแบ่งตามการคิดอัตราดอกเบี้ย อีก 2 ประเภท ได้แก่
- หุ้นกู้สามัญที่มีอัตราดอกเบี้ยคงที่และลอยตัว
- พันธบัตรที่มีเงื่อนไขการชำระเงินพิเศษ
และส่วนแบ่งที่ใหญ่ที่สุดของพันธบัตรระหว่างประเทศ คือ พันธบัตรอัตราดอกเบี้ยลอยตัวทั่วไป หรืออัตราดอกเบี้ยลอยตัว (FRN) เพื่อรับประกันนักลงทุนในอัตราดอกเบี้ยขั้นต่ำที่กำหนดไว้ล่วงหน้า ซึ่งสูงกว่า คือ อัตราดอกเบี้ยการกู้ยืมระหว่างธนาคารแบบไม่มี หลักประกันสาหรับระยะเวลาต่างๆ (LIBOR) ซึ่งจะชำระเมื่อสิ้นสุดงวดการชำระเงินทุกครึ่งปี เนื่องจากมีเป้าหมายที่นักลงทุนสถาบัน FRN ที่ออกมาจึงมีแนวโน้มที่จะมีมูลค่าที่ตราไว้สูงกว่า (5,000 ดอลลาร์, 10,000 ดอลลาร์, 100,000 ดอลลาร์) มากกว่าพันธบัตรอัตราดอกเบี้ยคงที่
ปัจจุบันตลาดหุ้นยุโรป ล่าสุด และ Eurobond ออกโดยบริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่ ที่มีอันดับเครดิตสูงเพื่อรับประกันเงินลงทุนระยะยาว โดยการออก Eurobond ถูกควบคุมโดยสมาคมธนาคาร ซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์และวาณิชธนกิจที่มีขนาดใหญ่ในแต่ละประเทศที่รวมกันเพื่อให้ได้มาซึ่งเงินทุนจำนวนมาก และรวมกันเป็นหนึ่งหรือที่เรียกว่ากลุ่มร่วม
จุดเด่นของตลาดหุ้นยุโรป
โดยภาวะตลาดหุ้นยุโรป ที่ใช้สกุลเงิน EUR มีอยู่พร้อมกับตลาดตราสารหนี้ยูโร และเป็นส่วนที่ 2 ของตลาดยุโรป มีการเสนอขายหุ้นยูโรโดยบริษัทนอกประเทศ ซึ่งโดยปกติแล้ว บริษัทระหว่างประเทศขนาดใหญ่จะตัดสินใจออกหุ้นในสกุลเงินยูโร สามารถลงทุนเพื่อวัตถุประสงค์ทางการเงิน บริษัทผู้ถือหุ้นเสนอในหลากหลายประเทศและสกุลเงิน ประโยชน์ของ บริษัท ที่ออกหุ้นในสกุลเงินยูโรสามารถสรุปได้ ดังนี้
- ต้นทุนเงินทุนอาจต่ำกว่าเมื่อเทียบกับแหล่งเงินทุนอื่นๆ
- การรักษาความปลอดภัยเงินทุนที่จำเป็นในสกุลเงินที่ต้องการจากมุมมองของการลดความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน
- แหล่งเงินทุนขนาดใหญ่ ที่ไม่สามารถหาได้จากตลาดเกิดใหม่
- การขายหลักทรัพย์ในตลาดต่างประเทศ เพิ่มความต้องการที่เป็นไปได้สำหรับหุ้นของบริษัท ซึ่งอาจส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของราคาหุ้น - และเป็นผลให้ดึงดูดนักลงทุนรายใหม่
จนกระทั่งในช่วงกลางทศวรรษที่ 1980 การเสนอขายหุ้น IPO ที่ใหญ่ที่สุดในการออกหุ้นให้กับนักลงทุนต่างชาติและนักลงทุนได้เกิดขึ้นในตลาดต่างประเทศ ตัวอย่างคือ กรณีของ British Gas หรือ KLM ซึ่งเป็นหุ้นที่ออกในตลาดทุนระหว่างประเทศสามารถใช้เป็นเงินทุนในการพัฒนาบริษัทต่อไปได้
นอกจากนี้ บริษัทอเมริกันก็มีการออกหุ้น 2 ประเภท คือในประเทศและต่างประเทศ โดยมีหน่วยงานจัดการการออกที่แตกต่างกัน ในทางตรงกันข้าม บริษัทในยุโรปมักจะเตรียมชุดเดียวที่จัดการโดยบริษัทที่ออกและแจกจ่ายไปยังแต่ละตลาด โดยหุ้นยูโรยังมีจำหน่ายในตลาดรองด้วย เนื่องจากตลาดหุ้นที่ใหญ่ที่สุดมีการขายหลักทรัพย์ประมาณ 20% ของมูลค่าการซื้อขายระหว่างประเทศทั้งหมด
เนื่องจากเงื่อนไขที่แตกต่างกันในการรับหลักทรัพย์ เพื่อซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์หลักทั่วโลก การซื้อขายหุ้นต่างประเทศจึงกระจุกตัวในตลาดหลักทรัพย์ที่มีข้อกำหนดเสรีมากกว่า เช่น ในตลาดหุ้นอเมริกา แต่ก็มีเงื่อนไขในการรับขายหุ้นและจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ตลาดหลักทรัพย์ถูกจำกัดอย่างมากเมื่อเทียบกับตลาดหุ้นยุโรป
ความสำคัญของตลาดหุ้นยุโรป
บริษัทที่กำลังมองหาเงินทุนต่างประเทศ สามารถพึ่งพาแหล่งเงินทุนหลัก 3 แห่ง ดังนี้
- เงินกู้ระหว่างประเทศระยะกลางและระยะยาวในสกุลเงินยูโร
- การออกพันธบัตรยูโร
- แลกเปลี่ยนอัตราแลกเปลี่ยนของสกุลเงินยูโร
ซึ่งบทบาทของแหล่งเงินทุนในแต่ละประเทศจะแตกต่างกัน เช่น บริษัทญี่ปุ่นและเยอรมันพึ่งพาเงินกู้ระหว่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ ในทางตรงกันข้าม บริษัทของสหรัฐฯ มักจะระดมทุนด้วยการออกพันธบัตรและหุ้น ซึ่งในปัจจุบัน กระบวนการลดเงินกู้ระหว่างประเทศเพื่อสนับสนุนการออกยูโรบอนด์ ซึ่งเกิดขึ้นจากการควบรวมของตลาดหุ้นโลกและตลาดหุ้นของตลาดยุโรป
ปัจจุบันตลาด Eurobond สามารถตอบสนองความต้องการเงินกู้ระยะยาวจากต่างประเทศได้ โดยหลักการแล้ว การดำเนินการทางการเงินในตลาด Eurobond จะได้รับการยกเว้นภาษี เนื่องจากไม่อยู่ภายใต้เขตอำนาจศาลทางการเงินของธนาคารในประเทศ แต่ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา มีการลงทุนตลาดหุ้นยุโรป รวมทั้งการออกหุ้นของบริษัทต่างประเทศเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะบริษัทระหว่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริษัทอเมริกันที่ได้รับประโยชน์จากความเป็นไปได้ในการเพิ่มทุนโดยการออกหุ้นในตลาดหุ้นยุโรป
ซึ่งโดยพื้นฐานแล้ว ตลาดหลักทรัพย์ทั่วโลกเป็นตลาดรองสำหรับหุ้นที่ออกของบริษัทต่างชาติ ทำให้สามารถจัดหาเงินทุนสำหรับโครงการลงทุนต่างประเทศขนาดใหญ่ ซึ่งตลาดการเงินในประเทศไม่สามารถรับมือได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริษัทอเมริกันได้รับประโยชน์จากความเป็นไปได้ในการเพิ่มทุนผ่านการออกหุ้นต่างประเทศ ทำให้สามารถจัดหาเงินทุนสำหรับโครงการลงทุนต่างประเทศขนาดใหญ่ ซึ่งตลาดหุ้นในประเทศไม่สามารถรับมือได้
อยากลงทุนตลาดหุ้นยุโรปทำอย่างไร ?
ด้วยเทคโนโลยีทางการเงินในปัจจุบัน ที่คุณสามารถทำการซื้อขายออนไลน์ได้จากทั่วทุกมุมโลก แน่นแนว่าสามารถเข้าถึงและลงทุนตลาดหุ้นยุโรปและต่างประเทศ โดยหากพูดถึงลูกค้ารายย่อย ส่วนใหญ่ก็สามารถเลือกลงทุนใน CFD ซึ่งจะช่วยให้คุณสามารถซื้อขายหุ้นและพันธบัตรจากสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น หรือยุโรป ตลอดจนในตลาดสกุลเงินต่างประเทศทั่วโลก นอกจากนี้ การลงทุนในตลาด CFD ยังไม่ต้องกังวลกับการซื้อขายหลักทรัพย์ที่เป็นปัญหา แต่ใช้การคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงของราคาในอนาคตเท่านั้น ซึ่งพัฒนาการของ CFD ทำให้ตลาดจนถึงเมื่อไม่นานมานี้สงวนไว้สำหรับนักลงทุนรายใหญ่โดยเฉพาะ และเข้าถึงได้สำหรับทุกคน แม้แต่ในทศวรรษที่ 1980 ตลาดหุ้น ตลาดสกุลเงิน และตลาดฟิวเจอร์สก็ยังเป็นตลาดเดียวที่มีอยู่
นอกจากนี้ CFD ยังมีจุดเด่นหลายๆ อย่าง เช่น
- แทบไม่มีข้อจำกัดในการซื้อขายในตลาด CFD ไม่ว่าจะในตลาดหมีหรือในตลาดกระทิง ซึ่งซึ่งคุณสามารถทำสิ่งที่เรียกว่าการขายชอร์ตได้เหมือนกัน
- สามารถเข้าถึงตลาดได้ตลอด 24 ชั่วโมง 5 วันต่อสัปดาห์
- เข้าถึงตลาดหลายร้อยแห่งในที่เดียว ทำให้สามารถซื้อขายแลกเปลี่ยนหลักและตลาดได้ทั่วโลกได้
- ตลาด CFD มีเลเวอเรจสูง ทำให้สามารถเปิดสถานะได้มากกว่ามูลค่าของยอดเงินในบัญชีจริง
- ทำการซื้อขายได้จากทุกที่ในโลก ยกเว้นบางประเทศที่ห้ามซื้อขายผ่านอินเทอร์เน็ต ทำให้คุณสามารถเก็งกำไรในตลาดสกุลเงิน หุ้น พันธบัตร สินค้าโภคภัณฑ์ และอื่นๆ ได้ทุกที่ที่เวลา ได้ตามต้องการ
ตัวอย่างการซื้อขาย CFD ของเครื่องมือทางการเงินต่างๆ
สมมติว่า คุณมีเงินในบัญชี $1,000 และมีเลเวอเรจ 1:100 จากโบรกเกอร์ ในกรณีนี้คุณสามารถเปิดตำแหน่งได้สูงถึง $100,000 ด้วยเลเวอเรจ คุณจึงไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าของจำนวนเงินทั้งหมดเพื่อลงทุนในตราสารใดๆ อย่างไรก็ หากคุณใช้เลเวอเรจมากเกินไป ก็อาจทำให้เกิดการขาดทุนเพิ่มขึ้นอีกหลายเท่าตัวเช่นกัน
หากคุณมีคำถามและข้อสงสัยเพิ่มเติม สามารถเข้าร่วมสัมนาการเทรดออนไลน์ เพื่อเรียนรู้การเทรดที่สามารถใช้งานได้จริงไปพร้อมกับเทรดเดอร์มือโปร ที่ Admirals จัดให้คุณแบบฟรีๆ ทุกสัปดาห์ ลงชื่อเข้าร่วมสัมนาหรืออ่านรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถคลิกที่แบนเนอร์ได้เลย!
บทความอื่นๆ ที่คุณอาจสนใจ
- ทุกเรื่องที่ควรรู้ก่อนเริ่มต้นลงทุนในตลาดหุ้นยุโรป!
- เรียนรู้วิธีการเป็นนักเทรด Forex ที่ประสบความสำเร็จ
- การเงินส่วนบุคคล คืออะไร แล้วจะจัดการการเงินส่วนบุคคลยังไงดี?
รู้จักกับ Admirals
Admirals โบรกเกอร์ที่ได้รับรางวัลมากมาย รวมทั้งได้รับใบอนุญาตและการกำกับดูแลจากหลากหลายองค์กรทั่วโลก โดยให้บริการซื้อขายตราสารทางการเงินมากกว่า 8,000 รายการ ผ่านแพลตฟอร์มการซื้อขายที่ได้รับความนิยมที่สุดในโลก อย่าง MT4 และ MT5 เพื่อให้คุณลงทุนใน Forex และ CFD ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สนใจการลงทุน สามารถเริ่มซื้อขายได้ตั้งแต่วันนี้!
บทความนี้ไม่มีและไม่ควรตีความว่ามีคำแนะนำในการลงทุน ข้อเสนอ หรือการชักชวนทำธุรกรรมในเครื่องมือทางการเงิน นอกจากนี้ เนื่องจากสถานการณ์ที่อาจเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา การวิเคราะห์การซื้อขายข้างต้นจึงไม่ใช่ข้อบ่งชี้ที่เชื่อถือได้ทั้งในปัจจุบันหรือในอนาคต คุณควรขอคำแนะนำจากที่ปรึกษาทางการเงิน เพื่อทำความเข้าใจความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน