เทคนิคการใช้ Bollinger Band กับ RSI ในการเทรด

เทคนิคการใช้ Bollinger Band กับ RSI ในการเทรด นั้นคืออีกเทคนิคที่เทรดเดอร์ต่างให้ความสนใจ เพื่อให้สามารถใช้อินดิเคเตอร์ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อการวิเคราะห์ราคาหุ้น ค่าเงิน โดยเฉพาะสำหรับ นอกจากนี้ยังสามารถใช้เพื่อประเมินจังหวะในการซื้อขาย เพื่อเน้นใช้ในการเทรดตามแนวโน้มสำหรับไทม์เฟรมใหญ่ๆ และการประยุกต์ใช้สำหรับ 'การเทรดสวน' ในไทม์เฟรมสั้นๆ ได้อีกด้วย
เทคนิคการใช้ Bollinger Band กับ RSI ในการเทรด
การใช้ Bollinger Band ในการเทรด
โดยพื้นฐาน การใช้ Bollinger Band ในการ Trade จะใช้สำหรับการเทรดตามเทรนด์ แม้เราอาจจะเป็นนักเทรดสาย 'สวนเทรน' ก็ตาม พื้นฐานการเทรดด้วย Bollinger Band แบบปกติ จะทำให้เราเข้าใจถึงแนวคิด และประยุกต์เพื่อเทรดสวนเทรนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
เนื่องจากตลาดหุ้นเป็นตลาดที่เกิดขึ้นมาก่อนใคร และเป็นตลาดแรก ๆ ที่นักลงทุนรายย่อยสามารถเข้าไปทำการซื้อขายได้ ในปัจจุบัน ตลาดที่เปิดกว้างกว่าตลาดหุ้น เช่น ค่าเงิน FX, สกุลเงินดิจิทัล รวมถึงตลาดที่อ้างอิงด้วยตราสาร CFD ทั้งนี้ เมื่อตลาดหุ้นมีพัฒนาการมาอย่างยาวนาน
แนวคิดของ Bollinger Bands จึงถูกพัฒนาและพูดถึงโดยอ้างอิงกับพฤติกรรมราคาของตลาดหุ้น ดังนั้น เราจะเริ่มจากแนวคิด Bollinger Bands ในตลาดหุ้นก่อน ลองพิจารณาภาพ 1.1 ด้านล่าง
เมื่อเป็นกราฟ Daily แต่ละเส้นแบ่งแนวตั้ง 1 ช่องจะมีระยะเวลาเท่ากับ 1 เดือน และในภาพจะใส่ค่า Bollinger Bands มาตรฐานเลย คือ (20, 2) ดังนั้น แปลว่า เส้นตรงกลางของ Bands ก็คือเส้น Simple Moving Average 20 วันนั่นเอง
ให้ลองสังเกตว่า กราฟหุ้นสหรัฐฯ ทั่ว ๆ ไป ที่มีความผันผวนระดับปานกลาง จะให้สัญญาณการเทรด "เดือนละ 1 ครั้ง" โดยระบบเทรดและเทคนิคการใช้ Bollinger Bands ในที่นี่มีองค์ประกอบดังต่อไปนี้
- ราคาสามารถ Breakout ทะลุกรอบการพักตัวขึ้นมาได้ รอให้ราคากลับมาทดสอบเส้นตรงกลาง ให้แบ่งการเทรดเป็น 2 ไม้ เทรดได้สองจังหวะ ในกรณีที่เทรดแพ้ทั้ง 2 จังหวะ ให้หยุดเทรดก่อน
- จังหวะเข้าเทรดไม้ที่ 1 ให้ซื้อเมื่อราคากลับมาทดสอบเส้นตรงกลาง และให้ Take Profit เมื่อราคาแตะกรอบ Bands บน จะสังเกตได้ว่า จุดที่เป็น [1] คือจังหวะเข้าซื้อสำหรับไม้ที่ 1 ทั้งหมด
- จังหวะที่ [1] ที่มีลูกศรสีเหลือง จะเห็นว่าเป็นครั้งแรกที่เราเทรดไม้สำหรับไม้ที่ 1 ดังนั้น ตามระบบเทรดนี้ เราจะมีโอกาสเทรดได้อีกครั้ง โดยไม้ที่ 2 ให้รอเข้าเทรดเมื่อราคาวิ่งมาทดสอบ Band ล่าง ซึ่งจะเห็นได้จากหมายเลข [2] โดยจังหวะเทรดในไม้ที่ 2 เราสามารถ Exit จากการเทรดได้ทั้งแบบที่เส้นกลาง หรือ TP ไว้ที่บริเวณใกล้ Band บนก็ได้
หลังจากจบจังหวะที่ [2] ให้ลองกลับไปทำการบ้านกันดูก่อน จะเห็นว่า จังหวะเทรดต่อไปคือจังหวะที่ราคากลับมาทดสอบที่เส้นตรงกลาง เนื่องจากหลังจบการเทรดที่ [2] แล้ว "เราก็ Breakout ทะลุกรอบพักตัวขึ้นไป" ซึ่งก็เป็นสัญญาณเตือนตามระบบ แต่หลังจากนั้น ราคาก็ทะลุเส้นกลาง ตรงนี้สำคัญมาก
เมื่อไหร่ก็ตามที่เราต้องใช้จังหวะ [2] ถี่ขึ้น ซึ่งในกรณีนี้คือ เราเพิ่งเทรดชนะในจังหวะที่ [2] มา และเมื่อเกิดสัญญาณครั้งใหม่ เราเข้าเทรดตามจังหวะ [1] แล้วแพ้ ตรงนี้จะเป็นสัญญาณเตือนว่า สภาวะตลาดเป็นแนวโน้มขาขึ้นไม่ได้แข็งแกร่งอีกต่อไป เพราะถ้าตลาดแข็งแกร่ง เราควรจะสามารถเทรดในจังหวะที่ [1] ชนะได้
เมื่อเป็นเช่นนั้น เราก็ควรปรับกลยุทธ์การเทรดที่เหมาะสมกับสภาพตลาด เพราะระบบเทรด Bollinger Bands ที่เทรดตามแนวโน้มนั้น แนวคิดคือการอาศัยประโยชน์จากสภาวะตลาดที่มีการย่อตัวที่ไม่มาก หรือเป็นขาขึ้นที่แข็งแกร่ง แต่ทั้งนี้ การที่ราคาย่อมาถึงจังหวะที่ [2] ไม่ได้แปลว่า ตลาดอ่อนแรงมากเท่าใดนัก เว้นแต่ ตลาดจะสามารถเทรดลงมาจังหวะที่ [2] ได้ 1-2 ในระยะใกล้ ๆ กันดังตัวอย่างในภาพ 1.1 ซึ่งเราก็ควรหยุดเทรด
ฝึกฝนการเทรดด้วยบัญชีทดลองผ่าน MetaTrader 5
จะเห็นว่า การเทรดด้วย Bollinger Bands ต้องอาศัยการฝึกฝนพอสมควร โดยเฉพาะจังหวะที่มีการเปลี่ยนผ่านจาก Trend ไปเป็น Range เราจึงอยากแนะนำ MetaTrader 5 แพลตฟอร์มการเทรดชั้นนำ ที่มีเครื่องมือการวิเคราะห์กราฟระดับสูง
- เปิดบัญชีทดลองเทรด (Demo Account) ได้ฟรี!
- และหากต้องการลงทุนในตลาดจริง เงินฝากขั้นต่ำเพียง 25 USD หรือประมาณ 750 บาทเท่านั้น!
- มีหุ้นมากกว่า 4,000 รายการจากตลาดหุ้นสำคัญ 15 ตลาดทั่วโลก เช่น สหรัฐฯ, ญี่ปุ่น, เยอรมนี ฯลฯ
- สามารถใช้ Leverage ได้สูงสุดถึง 1:1000 ทำให้ซื้อขายได้มากกว่าปกติ 1,000 เท่า เหมาะสำหรับการแก้สถานการณ์ต่าง
การเปิดบัญชีกับ Admirals นั้นสะดวกรวดเร็วมากๆ ไม่ว่าจะเป็นบัญชีทดลองเทรดหรือบัญชีจริง เพียงกรอกแค่ชื่อกับอีเมล ก็จะได้รับอีเมลรหัสสำหรับการเข้าเทรด และลิงก์สำหรับดาวน์โหลดโปรแกรมเทรด คลิกเปิดบัญชีที่แบนเนอร์ด้านล่างนี้ได้เลย
การใช้ Bollinger Bands กับ RSI
ปัญหาของการใช้ Bollinger Bands กับ RSI อาจจะเป็นเรื่องไทม์เฟรมที่ใช้ จริงๆ ตัวของ Bollinger Bands สามารถนำมาใช้เทรดสั้นๆ สวนแนวโน้มได้ง่ายมาก เทรดเดอร์ที่มีความชำนาญจะเทรดสวนกลับเข้ามาเมื่อราคาแตะ Band แต่วิธีการแปลความ RSI มีความยุ่งยากเล็กน้อย
ยิ่งในไทม์เฟรมที่สั้นมากๆ ค่าดัชนี RSI สามารถวิ่งไปแตะโซน 30, 70 ได้ไม่ยาก และไม่ใช่เครื่องมือบ่งชี้ถึงสัญญาณการกลับตัวที่ดี ลองดูตัวอย่างในภาพด้านล่าง ด้านซ้ายจะเห็น 1 จังหวะที่ราคาแตะ Band บน และ RSI ก็ใกล้โซน 70 แต่ราคาก็ไปต่อ โดยราคาลงจริง ๆ หลังจากเกิด Overbought ในครั้งที่ 2
เช่นเดียวกับฝั่งของขาลง จะเห็นว่า RSI วิ่งมาโซน Oversold แต่ราคาก็ลงต่อเช่นกัน และจังหวะที่ราคากลับมาทดสอบแนว Oversold ก็ยังไม่มีสัญญาณว่าจะกลับตัว (แน่นอนล่ะ เพราะมันเป็นขาลง) วิธีการของหลายคนคือให้จังหวะลักษณะการชะลอแรงของ RSI
ส่วนในภาพด้านล่างนี้ จะมี 2 เหตุการณ์ที่แตกต่างกัน เหตุการณ์แรกในกรอบสี่เหลี่ยมใน RSI คือเหตุการณ์ที่คุ้นเคยกันดี มันคือการที่ RSI วิ่งลงจากโซน 70 ลงไป 30 โดยที่ไม่มีการชะลอหรือย่อกลับมาให้เห็นชัดๆ เลย สะท้อนแรงผลักที่รุนแรง ซึ่งการเกิด Oversold ในลักษณะนี้ ราคามีโอกาสที่จะลงต่อได้ง่าย
ส่วนสถานการณ์ด้านข้าง คือการวิ่งลงจากโซน 70 ลงไป 30 โดยที่มีแรงซื้อกลับมาตลอด จะเห็นว่า ตัวดัชนี RSI เองก็จะมีแรงตีกลับขึ้นมาตลอดวัน กรณีแบบนี้ เมื่อ RSI เกิด Oversold วิ่งลงไปแตะ 30 มักเป็นโอกาสที่สามารถเข้าไปช้อน Buy โดยที่ไม่ถูกลากไกลนัก เนื่องจากมีแรงเข้าซื้อตลอด เพราะถึงจุดสำคัญจริง ๆ เลยขึ้นได้ง่าย
ความรู้เรื่องการสังเกต RSI และลักษณะการชะลอแรงของมัน เราสามารถประยุกต์เรื่องนี้ไปใช้เทรดทั้งแบบตามเทรนและสวนเทรนได้
เทรดตามแนวโน้มด้วย Bollinger Bands กับ RSI
ไอเดียเรื่องการแบ่ง 2 ไม้ยังตามมาใช้กับระบบนี้ด้วย ยิ่งในตลาด Forex แล้ว แม้ราคาจะเป็นขาขึ้นชัดเจน แต่ด้วยความผันผวนของราคาที่สูง โอกาสที่ราคาจะย่อมาถึงขอบของ Band ก็มีมาก และเกิดขึ้นเป็นประจำ แล้วเผื่อจำนวนเงินให้สามารถเทรดได้สองจังหวะเป็นอย่างน้อย ทำให้เราอยู่รอดและไม่พลาดโอกาสที่เกิดขึ้น
การใช้ RSI ในหัวข้อนี้ จะเอามากรองเผื่อแก้ปัญหาไม่ให้เกิดการแพ้ในไม้ [1] มากเกินไป ซึ่งมักเกิดขึ้นในสภาวะตลาดที่มีการขยายกรอบ Range กว้างขึ้น
ปัญหาในภาพ 1.1 ส่วนหนึ่งมีเรื่องการเทรดในจังหวะที่สูงเกินไป ในกรณีนี้ เราออกแบบการใช้ RSI มากรองโดยใช้ RSI แล้วลาก Trendline บน RSI เลย รอจังหวะการสัมผัสในครั้งที่ 3 ของเส้น RSI และ RSI ต้องอยู่ประมาณกลางๆ หรือค่าประมาณ 50 ซึ่งอาจแกว่งได้ราวๆ 45-55 ให้ลองสังเกตภาพ 1.4 ด้านล่างนี้ จะเห็นว่า มักเป็นจังหวะราคามีโมเมนตัมแข็งแรงอยู่
ตามระบบการใช้ Bollinger Bands กับ RSI ในบทนี้ เราไฮไลท์จังหวะเทรดที่น่าสนใจด้วยสี่เหลี่ยมสีเขียว คราวนี้ เราลองมาดูการกรองบางจังหวะที่มีปัญหาออกไป จังหวะสี่เหลี่ยมแรกการสัมผัส Trendline ครั้ง 3 อยู่ในที่ต่ำเกินไป คือ 40 (ต่อให้ Setup กลยุทธ์ฝั่ง Sell จังหวะสัมผัสครั้งที่ 3 ก็อยู่ประมาณ RSI ที่ 40 อยู่ดี ซึ่งต่ำไปตามระบบนี้)
สี่เหลี่ยมสีแดงด้านขวา จะเห็นว่า การสัมผัส Trendline ของ RSI ในครั้งที่ 3 จะอยู่โซน 60 ไปเลย ซึ่งก็คล้ายๆ กับด้านซ้าย ถ้าเราเอาจังหวะนี้เป็นจังหวะเข้าเทรด มันอาจกลายเป็นจังหวะที่ตลาดกลับตัวมาพอดี ภาพขวาคือตลาด Correction ลงมาอีกครึ่งเดือน
ทั้งหมดนี้ เป็นแนวคิดคร่าว ๆ ของเราสำหรับการใช้ Bollinger Bands กับ RSI ซึ่งนี่ไม่ใช่คำแนะนำในการลงทุน และสิ่งที่เราแนะนำคือให้คุณฝึกฝนและทดลองกลยุทธ์การเทรดของคุณบนแพลตฟอร์มที่คุณไว้ใจได้อย่าง MT5
ใช้งาน MT5 และเปิดบัญชีทดลองเทรดฟรี!
- คุ้มครองเงินในบัญชีไม่ให้ต่ำกว่าศูนย์ บัญชีเทรดจะไม่มียอดติดลบ นักลงทุนจะไม่มีโอกาสเป็นหนี้โบรกเกอร์แบบตลาดหุ้นทั่วไป
- เทรดด้วยแพลตฟอร์มที่หลากหลาย ทั้งบน Windows, Mac, Web, Android และ iOS
- เทรดตลาด Commodity สำคัญ ๆ ได้ครบทุกตัว ทองคำ, น้ำมัน, แร่ธรรมชาติ ฯลฯ
- ป้องกันความเสี่ยงค่าเงินของตัวบัญชีได้ด้วยการเข้าไปเทรด Hedging ได้ตลอด 24 ชั่วโมง / 5 วันต่อสัปดาห์
ดูรายละเอียดเพิ่มเติม หรือคลิกเปิดบัญชีที่แบนเนอร์ด้านล่างนี้ได้เลย!
คำถามที่พบบ่อยในการใช้ Bollinger Band กับ RSI ในการเทรด
ใช้ Bollinger Bands คู่กับ RSI ยังไง ?
ตัวอย่างการเริ่มต้นใช้เทคนิคทำกำไร Forex ด้วย Bollinger Bands + RSI เริ่มที่การตั้งค่า Bollinger Bands ในกราฟด้วย SMA 20 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสองค่า จากนั้นเพิ่ม RSI โดยตั้งค่าที่ 14 จากนั้นก็สังเกต Overbought/Oversold หาก RSI สูงกกว่า 70 ก็จะเป็น Overbought และหากต่ำกว่า 30 ก็จะเป็น Oversold
ใช้ Bollinger Band คู่กับ RSI ดียังไง ?
เทรด Forex ด้วย Bollinger Bands + RSI เป็นแนวทางในการคาดการณ์ความผันผวนของราคา และจุดเริ่มต้นที่ดีที่สุด ซึ่งหากสามารถใช้ได้อย่างเชี่ยวชาญก็ถือเป็นกลยุทธ์ที่ค่อนข้างดี
บทความอื่นๆ ที่คุณอาจสนใจ
- แนวคิดการเทรด Forex ระยะยาว ให้ได้กำไรสม่ำเสมอ
- เทคนิคการเทรด Forex รูปแบบต่างๆ และหลักการเทรดให้ได้กําไร
- เทคนิค Price Action Indicator เพื่อหาจังหวะเทรด
ข้อมูลเกี่ยวกับสื่อการวิเคราะห์:
สื่อ, สารสนเทศที่ได้นำเสนอมีรายละเอียดที่เชื่อมโยงกับการวิเคราะห์ การประเมินผลลัพธ์ การคาดการณ์และการพยากรณ์รายเดือนหรือรายสัปดาห์ รวมถึงข้อมูลอื่นใดที่มีลักษณะของข้อมูลในรูปแบบเดียวกัน (ต่อไปจะเรียกว่า "การวิเคราะห์") ซึ่งได้เผยแพร่บนเว็บไซต์ของ Admirals SC Ltd. ก่อนที่จะตัดสินใจลงทุน โปรดศึกษาและพิจารณาข้อควรระวังดังต่อไปนี้
- นี่คือการสื่อสารทางการตลาด การวิเคราะห์ที่ถูกเผยแพร่ไปนั้น มีวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลเท่านั้น ไม่สามารถตีความได้ว่าเป็นข้อเสนอแนะหรือคำแนะนำทางด้านการลงทุน ไม่ได้จัดทำขึ้นตามข้อกำหนดทางกฎหมายที่ออกแบบมาเพื่อส่งเสริมความเป็นอิสระของการวิจัยการลงทุน (Independence of Investment Research) และไม่อยู่ภายใต้ข้อห้ามใด ๆ ในการจัดการก่อนการเผยแพร่การวิจัยการลงทุน
- การตัดสินใจลงทุนใดๆ ของลูกค้า เป็นการตัดสินใจแต่โดยลำพังของลูกค้าเอง ซึ่ง Admirals SC Ltd.จะไม่รับผิดชอบต่อความสูญเสียหรือความเสียหายใดๆ ที่เกิดจากการตัดสินใจดังกล่าว ไม่ว่าการตัดสินใจนั้นจะเป็นผลจาก "การวิเคราะห์" หรือไม่ก็ตาม
- ด้วยความมุ่งมั่นที่จะปกป้องผลประโยชน์ของลูกค้าของเราและความเที่ยงธรรมของการวิเคราะห์ Admirals SC Ltd ได้กำหนดกระบวนการภายในที่เกี่ยวข้องสำหรับการป้องกันและจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์
- การวิเคราะห์จัดทำโดยนักวิเคราะห์อิสระ (นักวิเคราะห์) (ซึ่งต่อไปนี้จะเรียกว่า "ผู้เขียน") เนื้อหาเป็นไปตามการประมาณการณ์ส่วนบุคคลของพวกเขา
- ในขณะที่ใช้ความพยายามอย่างสมเหตุสมผลเพื่อให้แน่ใจว่า แหล่งที่มาของเนื้อหาทั้งหมดมีความน่าเชื่อถือและมีการนำเสนอข้อมูลทั้งหมดในลักษณะที่เข้าใจได้ทันเวลา แม่นยำและครบถ้วนมากที่สุด อย่างไรก็ตาม Admirals SC Ltd ไม่รับประกันความถูกต้องหรือความสมบูรณ์ของ ข้อมูลใด ๆ ที่อยู่ในการวิเคราะห์
- ผลการดำเนินงานที่ผ่านมาหรือแบบจำลองใด ๆ ในอดีตของเครื่องมือทางการเงินที่ระบุไว้ในเนื้อหา ไม่ควรถูกตีความว่าเป็นการรับประกันโดยชัดแจ้งหรือโดยนัยโดย Admirals SC Ltd สำหรับผลการดำเนินงานที่เกิดขึ้นในอนาคต มูลค่าของตราสารทางการเงินอาจเพิ่มขึ้นและลดลง ไม่มีการรับประกันใด ๆ เกี่ยวกับมูลค่าสินทรัพย์ทั้งสิ้น
- ผลิตภัณฑ์ที่มีเลเวอเรจ (รวมถึงสัญญาสำหรับความแตกต่าง; CFD) เป็นลักษณะของการเก็งกำไรและอาจส่งผลให้เกิดการสูญเสียหรือกำไร ก่อนที่คุณจะเริ่มการซื้อขายโปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจถึงความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องอย่างถ่องแท้