ตลาดหลักทรัพย์ในทุกเรื่องที่คุณควรรู้!

เชื่อว่าตลาดหลักทรัพย์หรือตลาดหุ้นนี้ เป็นคำที่ใครหลายๆ คนต้องเคยได้ยินมาบ้าง แต่ก็อาจไม่ใช่ทุกคนที่รู้ว่าตลาดหลักทรัพย์ คือ หรือทำงานอย่างไร รวมทั้งบทบาทของตลาดหลักทรัพย์ คืออะไร ในการจัดหาเงินทุนในระบบเศรษฐกิจ หรือสามารถสร้างความมั่งคั่งทางการเงินได้อย่างไร หรือจะเริ่มต้นในตลาดหุ้นทั้งในประเทศและตลาดหุ้นต่างประเทศหรือเริ่มลงทุนในตลาดหุ้นได้อย่างไร สามารถหาคำตอบของคำถามทั้งหมดได้ในบทความนี้
ตลาดหลักทรัพย์ในทุกเรื่องที่คุณควรรู้!
ตลาดหลักทรัพย์ คืออะไร
ตลาดหลักทรัพย์ คือ ตลาดที่มีการซื้อขายตราสารทางการเงิน เช่น หุ้น กองทุนรวม Forex เป็นต้น แต่หลายๆ คนก็มักเรียกตลาดหุ้นเพราะเป็นตลาดหลักที่ซื้อขายหุ้นนั่นเอง และเช่นเดียวกับตลาดการเงินอื่นๆ
โดยตลาดหลักทรัพย์ก็ดำเนินไปตามกฎของอุปสงค์และอุปทาน ซึ่งหมายความว่าหากเทรดเดอร์จำนวนมากต้องการซื้อหุ้นโดยหวังว่าราคาจะสูงขึ้นในภายหลัง ราคาของหุ้นนั้นก็จะสูงขึ้น หากเทรดเดอร์คิดว่าราคาหุ้นอาจลดลงอีกก็จะเทขายหุ้นและในที่สุดก็ทำให้ราคาหุ้นตกลง
นอกจากนี้ ตลาดหลักทรัพย์ยังเปรียบเป็นพื้นที่เสมือนจริงที่ผู้เข้าร่วมตลาดทุกคนสามารถซื้อขายเครื่องมือทางการเงินออนไลน์ได้
โดยตลาดหลักทรัพย์จะอนุญาตให้บริษัทต่างๆ จัดหาเงินทุนสำหรับกิจกรรมของตน โดยการขายทุนบางส่วนในรูปของหุ้น โดยนักลงทุนที่ซื้อหุ้นบริษัทไปก็สามารถเป็นเจ้าของบางส่วนของบริษัทได้ พร้อมสิทธิประโยชน์ของการซื้อหุ้นในบริษัท ดังนี้
❶ การรับเงินปันผล จากหุ้นปันผล
❷ สิทธิเข้าร่วมและลงคะแนนเสียงในการประชุมสามัญ
ตลาดหลักทรัพย์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก ได้แก่ ตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก (the New York Stock Exchange) แห่งสหรัฐอเมริกา และตลาดหลักทรัพย์ลอนดอน (the London Stock Exchange) แห่งสหราชอาณาจักร นอกจากนี้ยังมี ตลาดหลักทรัพย์ฝรั่งเศส ตลาดหลักทรัพย์จีน ตลาดหลักทรัพย์อินเดีย ตลาดหลักทรัพย์แห่งฮ่องกง และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และในอีกหลายประเทศที่ต่างก็มีตลาดหลักทรัพย์เป็นของตนเอง
- ตลาดหลักทรัพย์ทุกแห่งมีคณะกรรมการจัดการเพื่อจัดการและควบคุมการแลกเปลี่ยน
- ตราสารที่สามารถซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ได้จะอยู่ในลิสต์รายการ
- การดำเนินการในตลาดทรัพย์จะอนุญาตเฉพาะสมาชิกเท่านั้น จึงต้องสมัครเป็นสมาชิกก่อ
- ตลาดหลักทรัพย์ทุกแห่งมีกฎและข้อบังคับเฉพาะ และจำเป็นต้องปฏิบัติตาม
คุณคือใครในตลาดหลักทรัพย์ ?
การซื้อขายเครื่องมือทางการเงินในตลาดหลักทรัพย์แต่ละวันเกิดขึ้นโดยไม่มีอุปสรรคใดๆ เช่นเดียวกับตลาดหุ้นที่ต้องการทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย โดยมีผู้เข้าร่วมหลักในตลาด ดังนี้
ผู้ซื้อ: ผู้ซื้อคือผู้ที่ซื้อหุ้นหรือสินทรัพย์อื่นๆ ในตลาดหุ้น ผู้ซื้อทุกรายซื้อหุ้นด้วยความหวังว่าจะมีราคาแพงขึ้นในอนาคต
ผู้ขาย: ผู้ขายคือบุคคลหรือสถาบันที่ขายหุ้น เนื่องจากคาดว่าราคาของหุ้นนั้นจะลดลงในอนาคต
นักลงทุนสถาบัน: นักลงทุนสถาบัน คือ ผู้เล่นหลักในความหมายของตลาดหุ้น โดยมีหน้าที่รับผิดชอบต่อปริมาณของสินทรัพย์ทางการเงินประเภทต่างๆ บริษัทประกันภัย บริษัทบริหารสินทรัพย์ กองทุนป้องกันความเสี่ยง (Hedge Fund) ธนาคารเพื่อการลงทุน หรือกองทุนบำเหน็จบำนาญเป็นผู้ลงทุนสถาบัน เป็นต้น
บุคคลทั่วไป: บุคคลทั่วไปลงทุนโดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างความมั่งคั่งทางการเงินและหารายได้ส่วนหนึ่งจากการออม โดยส่วนมากจะเป็นการการลงทุนระยะยาว (หลายปี)
ทำไมต้องลงทุนในตลาดหลักทรัพย์
ไม่เกินจริงที่จะกล่าวว่า ตลาดหุ้นช่วยให้คุณสามารถสร้างพอร์ตการลงทุนในสินทรัพย์หลายประเภท ไม่ว่าจะเป็น ตราสารทุน พันธบัตร Forex ซึ่งคุณสามารถเลือกได้ตามความถนัด และความเสี่ยงที่รับได้ นอกจากนี้หุ้นที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์นั้นถือเป็นหนึ่งในผลการดำเนินงานระยะยาว นักลงทุนจึงต้องระวังความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะความเสี่ยงในการสูญเสียหรือขาดทุน ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เป็นต้น
ความหมายและหน้าที่ของตลาดหลักทรัพย์
ตลาดหุ้นมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจ และทำหน้าที่พื้นฐานของตลาดหลักทรัพย์หลักๆ 6 อย่าง ดังนี้
➡️ กำหนดราคา
➡️ สภาพคล่อง
➡️ ประสิทธิภาพ (ต้นทุน เช่น ต้นทุนธุรกรรม)
➡️ ให้กู้ยืมแบบดั้งเดิม
➡️ เงินทุนเคลื่อนย้ายที่ไหลเข้า-ออกในตลาดทุน (Fund Flow)
➡️ กระจายความเสี่ยง
สถาบันการเงินต่างๆ ทั่วโลก เช่น ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารเพื่อการลงทุน ธนาคารกลาง บริษัทประกันภัย โบรกเกอร์ และสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร (เช่น สหพันธ์เครดิต) จะมีหน้าที่อำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายเงินในตลาดโลกและระบบการเงิน
การดำเนินการของตลาดหุ้น
การทำความเข้าใจการทำงานของตลาดหลักทรัพย์เป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะในตลาดหุ้น ที่เราต่างรู้ดีว่าราคาหุ้นผันผวนทุกๆ วัน แล้วคุณทราบไหมว่าความผันผวนนี้เกิดจากอะไร ?
ประเด็นก็คือตลาดหุ้นก็ทำงานเหมือนกับตลาดอื่นๆ ผู้ขายขายหุ้นของตนเพราะคาดว่าราคาจะลดลง และผู้ซื้อซื้อหุ้นโดยคาดว่าราคาจะเพิ่มขึ้น ราคาตลาดหุ้นก็เปลี่ยนแปลงทุกวันตามเวลาจริง
ความไม่มั่นคง
ความผันผวน (Volatility) คือ การวัดว่าราคาของตราสารทางการเงินมีความผันผวนมากน้อยเพียงใด ซึ่งสามารถทำได้โดยใช้ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทำให้สามารถวัดผลตอบแทนและความเสี่ยงด้านราคาของเครื่องมือทางการเงินได้ ความผันผวนจึงสามารถบ่งบอกถึงศักยภาพในการทำกำไรจำนวนมาก แต่ยังรวมถึงการสูญเสียครั้งใหญ่ด้วย
และนักลงทุนก็ไม่ชอบทำการใดๆ ด้วยความกลัว
ดังนั้น หากเกิดองค์ประกอบเชิงลบอย่างสงคราม โรคระบาด วิกฤติราคาน้ำมัน หรือวิกฤตเศรษฐกิจ เกิดขึ้น ก็จะส่งผลต่อตลาดหุ้น (นักลงทุนก็อาจหวาดกลัว และต้องการเทขายหุ้นออกไปอย่างรวดเร็ว ดังนั้น ก็จะมีผู้ขายมากกว่าผู้ซื้อ และเมื่อมีผู้ขายมากกว่าผู้ซื้อ ราคาหุ้นก็จะลดลง
หากคุณสนใจสินทรัพย์ที่สร้างความรู้สึกหวาดกลัวในตลาดหุ้น สามารถทำความเข้าใจใน VIX Index ได้
คุณสมบัติของตลาดหลักทรัพย์และการทำเงินในตลาดหุ้น
นักลงทุนมองหาตลาดการเงิน เพื่อนำเงินมาลงทุนและเพิ่มเงินออม ซึ่งคุณสามารถดำเนินการในตลาดหุ้นได้หลายวิธี ดังนี้
1. กำไรจากเงินทุน
เมื่อนักลงทุนมองเห็นว่าหุ้นมีศักยภาพที่จะทำงานได้ดีในอนาคตก็จะซื้อหุ้นนั้น และเก็บไว้โดยหวังว่าหุ้นนั้นๆ จะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นตามกาลเวลา และขายในราคาที่สูงขึ้นเพื่อรับผลกำไร
2. กำไรจากรายได้
หรือการซื้อหุ้นปันผลที่บริษัทจะจ่ายให้กับผู้ถือหุ้นทุกรายอย่างสม่ำเสมอ ทำให้ผู้ลงทุนได้รับค่าตอบแทนเป็นระยะๆ (โดยปกติจะเป็นรายไตรมาส)
3. การทำกำไรจากเงินทุนและการสร้างกำไรจากรายได้
นักลงทุนทั้งมือใหม่และนักลงทุนผู้เชี่ยวชาญจะซื้อหุ้นปันผลเพื่อรับทั้งเงินปันผลและเงินทุน เพื่อเพิ่มผลกำไรในตลาดหุ้นให้สูงสุด
4. การขายชอร์ต (Short Sell)
คือกระบวนการที่เทรดเดอร์เดิมพันว่าราคาหุ้นจะตกและขายหุ้นก่อน และเมื่อราคาลดลงจริงๆ ก็จะเข้าซื้อ ซึ่งนักลงทุนก็จะได้รับส่วนต่างจากราคาที่ตก แต่ไม่ได้รับเงินปันผล (และไม่แนะนำสำหรับมือใหม่)
5. การเก็งกำไรในตราสารอนุพันธ์
ตราสารอนุพันธ์ หรือDerivatives คือเครื่องมือที่หลากหลายในการลงทุน เช่น CFD ฟิวเจอร์ส หรือออปชั่น ที่ให้คุณเดิมพันการขึ้นหรือลงของหลักทรัพย์ในช่วงเวลาสั้นๆ และใช้เลเวอเรจในการเก็งกำไรในตลาดหุ้น ซึ่งก็มาพร้อมความเสี่ยงด้วยเช่นกัน
โดยในการเริ่มต้นลงทุนในตลาดหุ้นก็ต้องอาศัยการพิจารณาถึงปัจจัยต่างๆ เช่น วิธีการลงทุน ซึ่งมีรูปแบบยอดนิยม 3 แบบ ดังนี้
- Scalping – เทรดเดอร์ถือการซื้อขายเพียงไม่กี่นาทีหรือชั่วโมง
- Day trading – เทรดเดอร์ซื้อและขายหุ้นในวันเดียวกัน
- Swing trading – เทรดเดอร์เปิดตำแหน่งไว้เป็นเวลาหลายวัน
ซึ่งนอกจากการบริหารความเสี่ยงแล้ว การจัดการเงินก็มีความสำคัญมากด้วยเช่นกัน และคุณก็สามารถเลือกใช้รูปแบบการลงทุนที่เหมาะสมกับขอบเขตการลงทุนและความเสี่ยงที่ยอมรับได้ของคุณเอง
กำไรจากตลาดหลักทรัพย์มาจากไหน
คำตอบของคำถามนี้ สามารถตอบได้จากตัวอย่างนี้:
หากเราซื้อหุ้น Microsoft วันนี้ที่ราคา 135 ดอลลาร์ และราคาเพิ่มขึ้นเป็น 140 ดอลลาร์ในวันถัดมา หากขายเราก็จะสามารถสร้างรายได้ถึง 5 ดอลลาร์ต่อหุ้น แต่หากขายในราคา 135 ดอลลาร์ ก็จะไม่สามารถทำกำไรจากการเพิ่มราคาได้ อีกทั้งยังอาจขาดทุนได้ถึง 5 ดอลลาร์ อีกด้วย
ในทางกลับกัน หากซื้อหุ้น Microsoft วันนี้ที่ราคา 135 ดอลลาร์ และพรุ่งนี้ราคาอยู่ที่ 130 ดอลลาร์ ผู้ซื้อก็จะขาดทุน 5 ดอลลาร์ และผู้ขายจะได้กำไร 5 ดอลลาร์
การลงทุนในตลาดหลักทรัพย์และคำถามที่พบบ่อย
ตลาดหลักทรัพย์สำคัญอย่างไร ?
ตลาดหลักทรัพย์ช่วยให้บริษัทต่างๆ ระดมทุนหรือเงินได้จากการออกหุ้นทุนเพื่อขายให้กับนักลงทุน ซึ่งบริษัทสามารถนำเงินนี้กลับมาลงทุนในธุรกิจ และแปบงปันผลกำไรให้กับนักลงทุน (เฉพาะบริษัทที่มีการจ่ายเงินปันผล)
ตลาดหุ้นคืออะไร ทำหน้าที่อะไร และทำงานอย่างไร?
ตลาดหุ้น คือสถานที่ที่สร้างการราคาและการซื้อขายที่มีประสิทธิภาพ เป็นสถานที่ที่ผู้ซื้อและผู้ขายพบปะกันเพื่อแลกเปลี่ยนหุ้นของบริษัทมหาชน กล่าวได้ว่าตลาดหุ้น คือ ส่วนประกอบของเศรษฐกิจแบบตลาดเสรี เนื่องจากช่วยให้นักลงทุนสามารถเข้าซื้อขายและการแลกเปลี่ยนทุนได้อย่างเป็นประชาธิปไตย
ลงทุนในตลาดหุ้น เริ่มต้นอย่างไร ?
ในการเริ่มต้นการลงทุน คุณต้องเปิดบัญชีซื้อขายกับโบรกเกอร์หรือแพลตฟอร์มของโบรกเกอร์ก่อน โดยบัญชีซื้อขายคือที่ที่คุณ "ทำการซื้อขาย" หรือส่งคำสั่งซื้อหรือขาย โดยโบรกเกอร์หรือแพลตฟอร์มซื้อขายหุ้นของโบรกเกอร์ที่คุณเลือก โดยที่ Admirals คุณสามารถเปิดบัญชี Invest.MT5 เพื่อทำการซื้อขายในตลาดหุ้นต่างหประเทศทั่วโลกได้ตามต้องการ!
บทความอื่นๆ ที่คุณอาจสนใจ
- อยากลงทุนในหุ้นญี่ปุ่นต้องอ่าน
- หุ้นราคาถูก - ทุกเรื่องที่คุณควรรู้!
- ตลาดหุ้นอังกฤษ - รู้จักและเข้าใจใน 10 นาที
รู้จักกับ Admirals
Admirals โบรกเกอร์ที่ได้รับรางวัลมากมาย และได้รับใบอนุญาตและการกำกับดูแลจากหลากหลายองค์กรทั่วโลกกว่า เช่น FCA, CySEC, ASIC, IIROC, EFSA, JSC เป็นต้น โดย Admirals ให้บริการซื้อขายตราสารทางการเงินมากกว่า 8,000 รายการ ผ่านแพลตฟอร์มการซื้อขายที่ได้รับความนิยมที่สุดในโลก อย่าง MT4 และ MT5 เพื่อให้คุณลงทุนใน Forex และ CFD ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สนใจการลงทุน สามารถเริ่มซื้อขายได้ตั้งแต่วันนี้!
ข้อมูลเกี่ยวกับบทความ/สื่อที่เกี่ยวกับการวิเคราะห์:
บทความหรือสื่อที่ให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการวิเคราะห์ทั้งหมด ทั้งการประมาณการ การคาดการณ์ การทบทวนตลาด มุมมองรายสัปดาห์ หรือการประเมินหรือข้อมูลอื่นที่คล้ายคลึงกัน (ต่อไปนี้เรียกว่า "การวิเคราะห์") ที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ของบริษัทการลงทุนของ Admirals ที่ดำเนินการภายใต้เครื่องหมายการค้า Admirals (ต่อไปนี้จะเรียกว่า "Admirals") โปรดทำความเข้าใจในข้อมูลเหล่านี้ ก่อนตัดสินใจลงทุน
- บทความนี้คือการสื่อสารการตลาด โดยมีเนื้อหาในการเผยแพร่เพื่อจุดประสงค์ในการให้ข้อมูลเท่านั้นจึงไม่สามารถตีความว่าเป็นคำแนะนำหรือคำแนะนำในการลงทุนได้ อีกทั้งบทความนี้ไม่ได้จัดทำขึ้นตามข้อกำหนดทางกฎหมายที่ออกแบบมาเพื่อส่งเสริมความเป็นอิสระของการวิจัยการลงทุน และไม่อยู่ภายใต้ข้อห้ามใดๆ ในการดำเนินการก่อนการเผยแพร่งานวิจัยด้านการลงทุน
- ลูกค้าแต่ละรายทำการตัดสินใจลงทุนทั้งหมดด้วยตนเอง โดย Admirals จะไม่รับผิดชอบต่อความสูญเสียหรือความเสียหายใดๆ ที่เกิดขึ้นจากการตัดสินใจดังกล่าว ไม่ว่าจะอิงจากเนื้อหาหรือไม่ก็ตาม
- Admirals ได้กำหนดขั้นตอนภายในที่เกี่ยวข้องสำหรับการป้องกันและการจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ด้วยมุมมองที่จะปกป้องผลประโยชน์ของลูกค้าและการวิเคราะห์ข้อมูล
- บทความวิเคราะห์นี้ จัดทำโดยนักวิเคราะห์อิสระ Jitanchandra Solanki ผู้ร่วมให้ข้อมูลอิสระ (ต่อไปนี้เรียกว่า "ผู้เขียน") ตามการประเมินส่วนบุคคล
- เราพยายามเพื่อให้แหล่งที่มาของเนื้อหาทั้งหมดเชื่อถือได้และข้อมูลทั้งหมดที่ถูกนำเสนอนี้เข้าใจง่าย ทันเวลา แม่นยำ และครบถ้วนมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ทั้งนี้ Admirals จะไม่รับประกันความถูกต้องหรือความสมบูรณ์ของข้อมูลใดๆ ข้อมูลที่มีอยู่ในการวิเคราะห์
- ไม่ควรตีความว่าผลการดำเนินงานของเครื่องมือทางการเงินในอดีตหรือแบบจำลองใดๆ ที่ระบุในเนื้อหาว่าเป็นคำแนะนำโดยชัดแจ้ง โดยปริยาย หรือโดยนัยจาก Admirals สำหรับผลการดำเนินงานในอนาคต มูลค่าของเครื่องมือทางการเงินอาจเพิ่มขึ้นหรือลดลง และไม่รับประกันการรักษามูลค่าของสินทรัพย์
- ผลิตภัณฑ์ที่มีเลเวอเรจ (รวมถึงสัญญาสำหรับส่วนต่าง; CFD) เป็นการเก็งกำไรและอาจส่งผลให้เกิดการขาดทุนหรือกำไร โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าได้เข้าใจถึงความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องอย่างถ่องแท้ก่อนตัดสินใจลงทุน