Hedge Fund คืออะไร : กลยุทธ์ของกองทุน Hedge Fund มีอะไรบ้าง?

นักลงทุนที่มีความมั่งคั่งทางสินทรัพย์ที่มหาศาล มักมองหาช่องทางการทำเงินให้งอกเงยจากการลงทุน แต่เมื่อขนาดเงินลงทุนที่เยอะขึ้น การลงทุนด้วยตัวเองย่อมสร้างภาระในการจัดการ อีกทั้ง ก็แทบจะนึกไม่ออกว่า ควรจะลงทุนในหุ้นตัวไหน เนื่องจาก Market Cap อาจเล็กเกินไปสำหรับเงินลงทุนที่มีอยู่ ดังนั้น การลงทุนใน Hedge Fund จึงมักเป็นตัวเลือกที่ดีกว่า
กองทุน Hedge Fund มักสามารถสร้างผลตอบแทนได้ค่อนข้างมาก มีการบริหารจัดการที่รอบคอบ โดยผู้จัดการกองทุน Hedge Fund จะใช้กลยุทธ์การเทรดที่หลากหลายรูปแบบ ซึ่งเราจะพาไปทำความรู้จักอย่างคร่าว ๆ ในบทความนี้
คุณจะได้เรียนรู้
Hedge Fund คือ
Hedge Fund คือ กองทุนรวมเพื่อการลงทุนประเภทหนึ่ง ที่สามารถใช้กลยุทธ์หรือตราสารที่ซับซ้อนได้อย่างอิสระ เนื่องจากมักไม่ได้อยู่ภายใต้การกำกับดูแลที่เข้มงวด เพราะถือว่าผู้จัดการกองทุนและนักลงทุนมีความรู้ด้านการลงทุนในระดับสูง สามารถยอมรับความเสี่ยงในระดับสูงได้ จึงไม่มีข้อกำหนดเพื่อปกป้องนักลงทุนสำหรับกรณีของ Hedge Fund ไว้เป็นกรณีพิเศษ
ซึ่งแตกต่างจากกองทุนรวมทั่ว ๆ ไป ที่ถือว่า 'นักลงทุน' มีความสามารถในการยอมรับความเสี่ยงได้ในระดับที่แตกต่างกัน กองทุนรวมเองก็ต้องดำเนินตามเกณฑ์การซื้อขายอย่างเคร่งครัด ซึ่งมักไม่สามารถใช้ตราสารอนุพันธ์ในสัดส่วนที่สูงเมื่อเทียบกับขนาดกองทุนที่บริหารอยู่ได้ หรืออาจเป็นข้อกำหนดที่ไม่สามารถซื้อหุ้นที่มี Market Cap ขนาดเล็กได้ เป็นต้น
ซึ่งคำว่า "Hedge Fund" มาจากข้อเท็จจริงที่ว่า ผู้จัดการกองทุน Hedge Fund สามารถป้องกันความเสี่ยง หรือ "Hedge" งสถานะการลงทุนที่ตนกำลังถือครองอยู่ ได้ทั้งฝั่ง "ซื้อ" (Long) หรือฝั่งขาย (Short) นั่นหมายความว่า ในทางทฤษฎีแล้ว กำไรสามารถเกิดขึ้นได้ 'ตลอดเวลา' ไม่ว่าตลาดจะขยับไปในทิศทางใดก็ตาม
▶ Hedge Fund vs กองทุนรวมทั่วไป
สรุปก็คือ Hedge Fund และกองทุนรวมมีความคล้ายคลึงกัน ต่างก็มีเป้าหมายในการสร้างผลตอบแทนให้แก่นักลงทุนทั้งสิ้น แต่ Hedge Fund สามารถใช้กลยุทธ์อะไรก็ได้ ดังนั้น กลยุทธ์ Hedge Fund จึงดูเหมือนจะกล้าได้กล้าเสียมากกว่า มีกลยุทธ์ที่ Aggressive หรือสามารถทำให้เกิดความเสียหายของเงินทุนได้รุนแรงกว่า กองทุนรวมทั่ว ๆ ไป
โดยทั่วไป Hedge Fund มักมีข้อกำหนดในการลงทุนที่สูงกว่ากองทุนรวมมาก เช่น ต้องมีเงินลงทุนมากกว่า 1 ล้านดอลลาร์ขึ้นไป เป็นต้น
Hedge Fund มีประวัติความเป็นมาอย่างไร?
ในปี 1949 กองทุน Hedge Fund กองแรกสุด ถูกก่อตั้งขึ้นมาโดยชายที่ชื่อว่า Alfred Winslow Jones ผ่านบริษัท A.W. Jones & Co. ของเขา ด้วย Alfred ต้องการทราบว่า จะเกิดอะไรขึ้น? หากเขาพยายามถือครองสินทรัพย์ใดๆ เพื่อการลงทุนในระยะยาว ไปพร้อมๆ กับการ "ขายชอร์ต" หุ้นตัวอื่น ๆ ที่ทำผลงานได้ไม่ดี จุดเริ่มต้นมันง่ายแค่นี้เลย
แล้วคำถามต่อมาของ Alfred คือ หากเขาลองใช้ "Leverage" เข้ามาช่วย เพื่อเพิ่มผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับ มันจะสามารรถเป็นไปได้หรือไม่? เพราะในวิธีคิดพื้นฐานทั่วไป หากเรามีสัดส่วนการ Long & Short ที่ใกล้ ๆ กัน ความเสี่ยงของกองทุนก็ไม่น่าจะสูงมากนัก เพราะผลกำไรก็จะมาคานกัน
แนวคิดเรื่องของการแบ่งรายได้ให้กับผู้จัดการกองทุนในแบบที่เรียกว่า Percentage-Based Incentive Fee ซึ่งจะคิดเป็นเปอร์เซ็นต์รายได้สำหรับพาร์ทเนอร์ที่บริหารจัดการกองทุนตามผลการดำเนินงานจริงก็เกิดขึ้นครั้งแรกในตอนที่ Alfred เริ่มทำ Hedge Fund เช่นกัน
และแน่นอนว่า ผลลัพธ์ที่ "เร้าใจ" ก็ทำให้การลงทุนใน Hedge Fund เพิ่มสูงขึ้น จนในปัจจุบัน มีการประมาณการกันว่ามี Hedge Fund ที่ดำเนินการอยู่ทั่วโลกประมาณ 10,000 กองทุน และสินทรัพย์ภายใต้การจัดการราว ๆ 4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2021
▶ รู้หรือไม่ว่า? คุณเองก็เปิด Hedge Fund ได้!
โบรกเกอร์ Admirals ให้บริการตราสารการลงทุนที่หลากหลาย ตั้งแต่ค่าเงินสำคัญของโลก เช่น USD, GBP หรือสินค้าโภคภัณอย่าง ทองคำ, น้ำมัน ฯลฯ นอกจากนี้ ลูกค้าสามารถเทรด Long & Short ได้เหมือน Hedge Fund ผ่านตราสาร CFD ทดลองใช้บัญชีทดลองได้ฟรี คลิกที่แบนเนอร์ด้านล่าง!
กลยุทธ์ Hedge Fund ที่ได้รับความนิยม
Hedge Fund จำนวนมากตั้งอยู่ในอเมริกาและเน้นลงทุนในตลาดหุ้นอเมริกา เนื่องจาก Hedge Fund จะมีการใช้กลยุทธ์ที่หลากหลายกว่ากองทุนรวมมาก จึงจำเป็นต้องลงทุนที่ตลาดที่มีขนาดใหญ่พอสมควร ทั้งนี้ วิธีการแบ่งประเภทของ Hedge Fund จึงมักแบ่งกันตาม "ประเภทของกลยุทธ์" แต่ไม่มีใครสามารถบอกได้จริงๆ ว่า สรุปแล้วกลยุทธ์ของ Hedge Fund ในโลกนั้นมีกี่กลยุทธ์ เราจึงคัดสรรเฉพาะกลยุทธ์หลักๆ ที่ได้รับความนิยมในการทำ Hedge Fund ดังต่อไปนี้
▶ กลยุทธ์ Market Neutral
กองทุนที่ใช้กลยุทธ์ Market neutral จะคล้ายคลึงกับกองทุนที่ใช้กลยุทธ์ Long/Short equity หลายประการ กองทุนประเภทนี้จะไม่ใช้ปัจจัยเกี่ยวกับ "สภาวะตลาด" มาเป็นตัวชี้วัดหลักในการลงทุนหรือไม่ลงทุน แต่จะพยายามลดผลกระทบจากความผันผวนของตลาดโดยการรักษาสัดส่วนของการลงทุนทั้งฝั่ง "ซื้อ" และฝั่ง "ขาย" ให้มีความสมดุลกัน นั่นจึงเป็นที่มาของคำว่า "Neutral" (เป็นกลาง) พูดง่ายๆ คือ ไม่ได้โฟกัสที่ "ทิศทางตลาด" แต่เน้นสัดส่วนการถือครองสินทรัพย์ในพอร์ต กลยุทธ์นี้อาจมีการใช้เลเวอเรจบ้างในบางกรณีเพื่อเพิ่มผลตอบแทนจากการลงทุน
▶ กลยุทธ์ Long / Short Equity
กลยุทธ์นี้ถือว่าเป็นกลยุทธ์ที่มีการใช้มากที่สุดและเป็นกลยุทธ์ที่ Jones ใช้ตั้งแต่ปี 1949 หลักการเรียบง่ายมากคือ โอกาสชนะทั้งในการลงทุนที่วิ่งขึ้นและดิ่งลง ซึ่งเป็นการเปิดตำแหน่งซื้อในบริษัทหรือ สินค้าโภคภัณฑ์ที่คาดว่าจะทำผลงานได้ดีและเลือกอีกบริษัทที่ทำผลงานไม่ค่อยดี (ซึ่งมักอยู่ในหมวดเดียวกัน) และเปิดตำแหน่งขายบริษัทดังกล่าว ซึ่งคล้ายคลึงกับการเทรดจับคู่ (Pair Trading) และไม่เพียงเพิ่มโอกาสความสำเร็จสูงสุดแต่ยังเป็นวิธีลดความเสี่ยงที่ค่อนข้างมีประสิทธิภาพอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม Hedge Fundที่ใช้กลยุทธ์ long/short equity ยังเป็นหนทางที่ดีในการป้องกันความเสี่ยงของสถานะ หากกิจกรรมที่ส่งผลกระทบต่อตลาดอย่างมีนัยสำคัญเกิดขึ้น ซึ่งทำให้ราคาหุ้นทั่วโลกตกลงหรือเพิ่มขึ้น อย่างน้อยหนึ่งการลงทุนจะมีโอกาสทำกำไร และช่วยจำกัดผลขาดทุนที่คาดว่าจะเกิดขึ้นของอีกการลงทุนหนึ่ง
▶ กลยุทธ์ Event Driven
บางครั้งก็เรียกว่าการลงทุนตามเหตุการณ์ ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นสร้างความแตกต่างในมูลค่าของบริษัททำให้เกิดความน่าสนใจ ซึ่งสามารถเป็นได้ตั้งแต่ด้านบวก เช่น การเสนอซื้อกิจการหรือนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ใหม่จนถึงด้านลบ เช่น รายได้ไม่ถึงรายได้ประมาณการหรือการลาออกของทีมบริหารอาวุโสอย่างน้อยหนึ่งคน
▶ Quantitative Investment
การลงทุนที่อาศัยการลงทุนเชิงปริมาณนั้นใช้ตัวแบบทางคณิตศาสตร์และสถิติที่มีเป้าหมายในการค้นหาและพยากรณ์แพทเทิร์นในโลกการเงิน ซึ่งพึ่งพาการประมวลผลข้อมูลจำนวนมากและดำเนินการโดยอาศัยการประมวลผลอันซับซ้อน ในหลายกรณี การตัดสินใจลงทุนกระทำโดยอัตโนมัติและไม่มีการแทรกแซงจากมนุษย์ และมักนิยมใช้กับแพทเทิร์นเทรดที่มีความถี่สูงซึ่งมักเกิดขึ้นบ่อยโดยใช้อัลกอริทึมซึ่งขับเคลื่อนโดยปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence - AI)
ภาพรวมของกลยุทธ์อื่น ๆ
จริง ๆ จะเห็นว่า ส่วนใหญ่ของกองทุนจะเป็นลักษณะ Long / Short Strategy หมดแล้ว แต่กรณีที่เน้นแค่ฝั่งใดฝั่งหนึ่งก็มี เช่น Long-only Equity โดย เป็นกลยุทธ์การลงทุนที่ใกล้เคียงกับกองทุนรวมแบบดั้งเดิมที่สุด ผู้จัดการกองทุน Hedge Fund ที่ใช้กลยุทธ์นี้มักจะเน้นการลงทุนระยะยางเป็นหลัก หรือเป็นลักษณะ "Buy and Hold" นั่นเอง
1. Short-only Equity
ในทางตรงกันข้าม แนวทาง Short Only เล็งทำกำไรจากการขายชอร์ตหุ้นที่คาดว่าจะตกลงเมื่อเวลาผ่านไป โดยใช้ทักษะในการค้นหาบริษัทที่อาจแสดงสัญญาณที่ไม่ดีซึ่งนักลงทุนคนอื่น ๆ อาจมองข้ามไป และต้องพึ่งพาตลาดโดยรวมที่เป็นขาลง กลยุทธ์นี้เป็นแนวทางที่สามารถทำกำไรก้อนโตหากเป็นไปตามที่คาดการณ์ แต่ก็เป็นแนวทางที่มีความเสี่ยงค่อนข้างสูงและไม่เหมาะสำหรับผู้จัดการกองทุนที่ใจไม่ถึง
ตัวอย่างเช่น ในปี 2020 ผลกระทบของโคโรนาไวรัสสร้างความเสียหายอย่างมากในหลายอุตสาหกรรม หนึ่งอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบอย่างจังคือ อุตสาหกรรมการบิน ซึ่งคุณจะเห็นกราฟรายสัปดาห์ระยะยาวของ Deutsche Lufthansa's (LHA) ด้านล่าง
Disclaimer : กราฟราคาที่แสดง ณ ที่นี้ ใช้เพื่อประกอบการศึกษาเท่านั้น ไม่ถือเป็นคำแนะนำหรือคำชักชวนให้มีการลงทุนในผลิตภัณฑ์ทางการเงินใดๆ ที่ให้บริการโดย Admirals (CFDs, ETFs, Shares) สถิติในอดีตไม่สามารถใช้เป็นเครื่องบ่งชี้ถึงเหตุการณ์ในอนาคตได้
ราคาหุ้นของสายการบินนี้ไม่ได้ตกลงในช่วงที่เกิดโคโรนาไวรัสเท่านั้น แต่บริษัทเองก็ประสบปัญหาก่อนหน้าการได้รับผลกระทบจาก โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ที่ควบคุมตลาดในปี 2020 ข้อเท็จจริงคือ ราคาหุ้นสายการบินนี้ตกมาตั้งแต่ต้นปี 2018 ด้วยสายการบินต้นทุนต่ำล้นตลาด ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวที่ขับเคลื่อนด้วยเหตุการณ์ (event-driven) ที่ hedge fund มองหา
2. Global Marco
แนวทาง global macro เป็นกลยุทธ์ที่ศึกษาแนวโน้มเศรษฐกิจมหภาคและปัจจัยพื้นฐานเพื่อพยายามคาดการณ์ผลกระทบที่จะส่งผลกับอัตราแลกเปลี่ยนและอัตราดอกเบี้ย สินค้าโภคภัณฑ์หรือตราสารทุนจากทั่วทุกมุมโลก ตัวกองทุนเองสามารถเทรดได้ทุกเครื่องมือทางการเงิน แต่มักเน้นตราสารอนุพันธ์ ฟิวเจอร์สและสกุลเงิน หลักทรัพย์เหล่านี้ยังสามารถใช้เลเวอเรจระดับสูงเพื่อผลกำไรที่คาดว่าจะได้รับสูงสุด
แต่เดิมแล้ว hedge fund จำนวนมากจะเล็งตลาดสกุลเงินและสินค้าโภคภัณฑ์สำหรับกลยุทธ์ global macro ด้วยสกุลเงินมีแนวคิดเรียบง่าย - ซื้อสกุลเงินที่แข็งค่าและขายสกุลเงินที่อ่อนค่า โดยปรกติแล้ว การเคลื่อนไหวครั้งใหญ่จะขับเคลื่อนด้วยเหตุการณ์ (event-driven) ซึ่งรวมถึงการแทรกแซงจากธนาคารกลางหรือการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญของเศรษฐศาสตร์การเมืองหรือพื้นฐานทางเศรษฐกิจ
ตัวอย่าง กราฟรายสัปดาห์ระยะยาวด้านล่างคือ ดอลลาร์สหรัฐกับเรียลบราซิล (USDBRL)
Disclaimer : กราฟราคาที่แสดง ณ ที่นี้ ใช้เพื่อประกอบการศึกษาเท่านั้น ไม่ถือเป็นคำแนะนำหรือคำชักชวนให้มีการลงทุนในผลิตภัณฑ์ทางการเงินใดๆ ที่ให้บริการโดย Admirals (CFDs, ETFs, Shares) สถิติในอดีตไม่สามารถใช้เป็นเครื่องบ่งชี้ถึงเหตุการณ์ในอนาคตได้
จากกราฟข้างต้น เรียลบราซิลอ่อนค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐตั้งแต่ปี 2011 ถึงแม้จะมีช่วงเวลาที่เรียลบราซิลแข็งค่ากว่าตั้งแต่ปี 2015 จนถึง 2017 ด้วยผู้นำทางการเมืองที่ล้มเหลวและเศรษฐกิจที่ตกต่ำทำให้สกุลเงินของบราซิลเกิดการเคลื่อนไหวครั้งใหญ่ ตามจริงแล้ว คู่สกุลเงินนี้อยู่เหนือเส้น exponential moving average รายสัปดาห์ 200 ซึ่งป็น Indicator MT4 มาตรฐาน โดยวันนับตั้งแต่ปี 2011 ซึ่งเป็นรูปแบบการเคลื่อนไหวระยะยาวที่ hedge fund มองหา
คุณทราบหรือไม่ว่า Admirals ให้คุณสามารถเปิดบัญชีเทรดเพื่อเทรด CFD และเปิดตำแหน่งซื้อและขายบนตลาดที่เลือกและคุณยังสามารถเปิดบัญชีลงทุนเพื่อซื้อหุ้นและ ETF ได้อีกด้วย!
คุณสามารถซื้อหุ้นของบริษัทที่คุณคิดว่าทำผลงานได้ดี ขณะที่ขายชอร์ตหุ้นของบริษัทที่คุณคิดว่าทำผลงานไม่ดี เพื่อป้องกันความเสี่ยงของสถานะของคุณ (ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า hedge fund! – 'กองทุนป้องกันความเสี่ยง')
บัญชี MT5 ของ Admirals ช่วยให้คุณสามารถลงทุนในหุ้นและ ETF จาก 15 ตลาดหุ้นขนาดใหญ่ที่สุดในโลก คุณยังสามารถที่จะ
- เปิดบัญชีด้วยเงินฝากขั้นต่ำเพียง 25 USD
- รับข้อมูลตลาดแบบเรียลไทม์แบบไม่สะดุดได้ฟรีไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
- สร้างแหล่งรายได้ที่ไม่ได้มาจากการทำงาน (Passive income) โดยการรับเงินปันผล
- ใช้แพลตฟอร์มเทรดหลากสินทรัพย์ที่มีชื่อเสียงระดับโลกอย่าง MetaTrader 5
3. Credit Structure Arbitrage
Credit Structure arbitrage เป็นส่วนสำคัญของกลยุทธ์ hedge fund ชั้นเยี่ยม โดยผู้จัดการกองทุนค้นหาโอกาสในการใช้ประโยชน์จากมูลค่าสัมพัทธ์ระหว่างหลักทรัพย์ต่าง ๆ จากบริษัทผู้ออกเดียวกัน พวกเขายังมองหาหลักทรัพย์ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือเท่ากัน ตัวอย่างเช่น หลักทรัพย์ที่มีหลักประกันจำนองหรืออยู่ในรูปแบบของตราสารที่มีหนี้เป็นหลักประกัน ("Collateralized loan obligation" - CLO)
เพราะกลยุทธ์นี้เน้นที่เครดิตแทนที่จะเป็นอัตราดอกเบี้ย ทำให้กลยุทธ์นี้มักทำผลตอบแทนได้ดีที่สุดเมื่อเศรษฐกิจเติบโตอย่างรวดเร็วและการกู้ยืมอยู่ในระดับสูงสุด ในการป้องกันความเสี่ยงจากการถดถอยทางเศรษฐกิจ ผู้จัดการกองทุนจำนวนมากใช้ credit structure arbitrage โดยการขายชอร์ตฟิวเจอร์สอัตราดอกเบี้ยและพันธบัตรรัฐบาล
4. Convertible Arbitrage
ในการทำ convertible arbitrage ผู้จัดการ hedge fund ตัดสินใจซื้อทั้งส่วนของหนี้สินของบริษัทที่สามารถแปลงสภาพได้ในรูปของหุ้นกู้และทำการขายชอร์ตส่วนความเป็นเจ้าของ (หุ้น) ของบริษัทดังกล่าวในเวลาเดียวกัน แนวคิดนี้คือการลงทุนทั้งสองทิศทางนี้จะสมดุลด้วยตัวของมันเองเมื่อตลาดผันผวน เป็นระบบที่นิยมใช้เมื่อตลาดมีความผันผวนซึ่งเสนอโอกาสในการทำกำไรจากการเทรดมากขึ้น อย่างไรก็ตาม การทำอาบิทราจลักษณะนี้อาจมีความเสี่ยงเมื่อเกิดเหตุการณ์ภายนอก เช่น เกิดการทำคำเสนอซื้อ ซึ่งทำให้ความเคลื่อนไหวที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้นในมูลค่าของหุ้นที่ขายชอร์ต
5. Fixed Income Arbitrage
กลยุทธ์นี้คล้ายคลึงกับกองทุนที่ใช้กลยุทธ์ long and short equity ด้วยการแสวงหาผลประโยชน์จากส่วนต่างของมูลค่าระหว่างคู่ของตราสารหนี้ ซึ่งสามารถรวมถึงหุ้นกู้และพันธบัตรเทศบาลเช่นเดียวกับตราสารป้องกันการผิดนัดชำระ โดยที่หลักทรัพย์เหล่านี้สามารถซื้อในตลาดหนึ่งและขายทำกำไรในอีกตลาดหนึ่งเนื่องจากความแตกต่างของราคา การขายหลักทรัพย์เหล่านี้มักให้ผลตอบแทนที่ไม่สูงนัก ทำให้มักใช้เลเวอเรจระดับสูง ซึ่งช่วยเพิ่มกำไรที่คาดว่าจะได้รับมากขึ้น แต่ก็มาพร้อมความเสี่ยงที่ค่อนข้างสูงเช่นกัน
6. Risk Arbitrage
ในบางครั้งก็เป็นที่รู้จักในชื่อ merger arbitrage ซึ่งเป็นชื่อที่แสดงให้เห็นถึงแนวคิดที่เด่นชัดของการทำอาบิทราจลักษณะนี้ การทำอาบิทราจนี้เกี่ยวข้องกับการเทรดหุ้นของสองบริษัทที่มีแผนจะซื้อกิจการหรือควบรวมกิจการ กลยุทธ์นี้ได้ผลเพราะขณะที่ข่าวการควบรวมกิจการมักส่งผลให้ราคาหุ้นของบริษัทดังกล่าวขึ้น การเทรดจะมีโอกาสทำในราคาที่ต่ำกว่าราคาที่เสนอเนื่องจากไม่แน่ใจว่าข้อเสนอจะผ่านความเห็นชอบหรือไม่ ซึ่งกำไรได้มาจากความไม่แน่นอนตรงนี้ แต่ผู้จัดการกองทุนจะต้องมีความรู้ความเชี่ยวชาญในภูมิทัศน์ความเห็นชอบของหน่วยงานที่มีอำนาจเพื่อการตัดสินใจลงทุนอย่างมั่นใจ
7. Emerging Markets
การลงทุนในกลุ่มตลาดเกิดใหม่ของโลกเป็นกลยุทธ์ที่ได้รับความนิยม ด้วยกลุ่มตลาดเหล่านี้มักมีความผันผวนกว่ากลุ่มตลาดที่พัฒนาแล้ว ซึ่งเสนอโอกาสในการสร้างผลตอบแทนอย่างรวดเร็ว กลุ่มตลาดเกิดใหม่เสนอโอกาสต่าง ๆ มากมายตั้งแต่พันธบัตรจนถึงหนี้สาธารณะและจากการเทรดสกุลเงินจนถึงตราสารทุนในบริษัทเอกชน ซึ่งเอเชียตะวันออกอันประกอบด้วย ญี่ปุ่น จีนและไต้หวันเป็นบริเวณที่ได้รับความสนใจเป็นพิเศษจากผู้จัดการ hedge fund ในตอนนี้
คุณทราบหรือไม่ว่า Admirals ช่วยให้คุณสามารถเทรดและลงทุนในหลากหลายดัชนี สกุลเงินและ ETF ของกลุ่มตลาดเกิดใหม่ คุณสามารถเรียนรู้เพิ่มเติมในบทความ ' MSCI Emerging Markets Index คืออะไร?: วิธีการลงทุนในตลาดเกิดใหม่'
สุดท้ายนี้ หากคุณพร้อมและอยากเริ่มต้นลงทุนด้วยกลยุทธ์แบบ Hedge Fund คุณควรจะแน่ใจก่อนว่า คุณเข้าใจวิธีการใช้งานแพลตฟอร์มการเทรดเป็นอย่างดีแล้วหรือไม่ ซึ่งเราแนะนำให้คุณ เปิดบัญชีเงินจำลองหรือ "Demo Account"
บัญชีดังกล่าวจะจำลองเงินมาให้คุณเทรด แต่จะเทรดในตลาดจริง สภาพแวดล้อมเหมือนจริงทุกประการ คำนวณกำไร-ขาดทุนให้ตามราคาตลาดจริงๆ เพียงแต่เป็นระบบเงินจำลองเท่านั้น บัญชี Demo จึงเป็นเหมือนห้องแล็บสำหรับการเทรด และถ้าพร้อมแล้ว คลิกเปิดบัญชีที่แบนเนอร์ด้านล่าง
ใช้งาน MetaTrader 5 และเปิดบัญชีทดลองฟรี!
- เปิดบัญชี Demo ได้ฟรี และเปิดใหม่ได้เรื่อย ๆ หากบัญชีหมดอายุ
- เทรดตลาด Commodity สำคัญ ๆ ได้ครบทุกตัว ทองคำ, น้ำมัน, แร่ธรรมชาติ ฯลฯ
- ฝึกลงทุนแบบนักลงทุน VI ด้วยพันธบัตรและกองทุน ETF ชื่อดัง ไม่ว่าจะเป็น ARK, iShare, SPDR
การเปิดบัญชีกับ Admirals นั้นสะดวกรวดเร็วมาก ๆ คุณเพียงกรอกแค่ชื่อกับอีเมลเท่านั้น คุณก็จะได้รับอีเมลรหัสสำหรับการเข้าเทรด และลิงค์สำหรับดาวน์โหลดโปรแกรมเทรด คลิกเปิดบัญชีที่แบนเนอร์ด้านล่างนี้ได้เลย
ข้อมูลเกี่ยวกับสื่อการวิเคราะห์:
สื่อ, สารสนเทศที่ได้นำเสนอมีรายละเอียดที่เชื่อมโยงกับการวิเคราะห์ การประเมินผลลัพธ์ การคาดการณ์และการพยากรณ์รายเดือนหรือรายสัปดาห์ รวมถึงข้อมูลอื่นใดที่มีลักษณะของข้อมูลในรูปแบบเดียวกัน (ต่อไปจะเรียกว่า "การวิเคราะห์") ซึ่งได้เผยแพร่บนเว็บไซต์ของ Admirals SC Ltd. ก่อนที่จะตัดสินใจลงทุน โปรดศึกษาและพิจารณาข้อควรระวังดังต่อไปนี้
- นี่คือการสื่อสารทางการตลาด การวิเคราะห์ที่ถูกเผยแพร่ไปนั้น มีวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลเท่านั้น ไม่สามารถตีความได้ว่าเป็นข้อเสนอแนะหรือคำแนะนำทางด้านการลงทุน ไม่ได้จัดทำขึ้นตามข้อกำหนดทางกฎหมายที่ออกแบบมาเพื่อส่งเสริมความเป็นอิสระของการวิจัยการลงทุน (Independence of Investment Research) และไม่อยู่ภายใต้ข้อห้ามใด ๆ ในการจัดการก่อนการเผยแพร่การวิจัยการลงทุน
- การตัดสินใจลงทุนใดๆ ของลูกค้า เป็นการตัดสินใจแต่โดยลำพังของลูกค้าเอง ซึ่ง Admirals SC Ltd.จะไม่รับผิดชอบต่อความสูญเสียหรือความเสียหายใดๆ ที่เกิดจากการตัดสินใจดังกล่าว ไม่ว่าการตัดสินใจนั้นจะเป็นผลจาก "การวิเคราะห์" หรือไม่ก็ตาม
- ด้วยความมุ่งมั่นที่จะปกป้องผลประโยชน์ของลูกค้าของเราและความเที่ยงธรรมของการวิเคราะห์ Admirals SC Ltd ได้กำหนดกระบวนการภายในที่เกี่ยวข้องสำหรับการป้องกันและจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์
- การวิเคราะห์จัดทำโดยนักวิเคราะห์อิสระ (นักวิเคราะห์) (ซึ่งต่อไปนี้จะเรียกว่า "ผู้เขียน") เนื้อหาเป็นไปตามการประมาณการณ์ส่วนบุคคลของพวกเขา
- ในขณะที่ใช้ความพยายามอย่างสมเหตุสมผลเพื่อให้แน่ใจว่า แหล่งที่มาของเนื้อหาทั้งหมดมีความน่าเชื่อถือและมีการนำเสนอข้อมูลทั้งหมดในลักษณะที่เข้าใจได้ทันเวลา แม่นยำและครบถ้วนมากที่สุด อย่างไรก็ตาม Admirals SC Ltd ไม่รับประกันความถูกต้องหรือความสมบูรณ์ของ ข้อมูลใด ๆ ที่อยู่ในการวิเคราะห์
- ผลการดำเนินงานที่ผ่านมาหรือแบบจำลองใด ๆ ในอดีตของเครื่องมือทางการเงินที่ระบุไว้ในเนื้อหา ไม่ควรถูกตีความว่าเป็นการรับประกันโดยชัดแจ้งหรือโดยนัยโดย Admirals SC Ltd สำหรับผลการดำเนินงานที่เกิดขึ้นในอนาคต มูลค่าของตราสารทางการเงินอาจเพิ่มขึ้นและลดลง ไม่มีการรับประกันใด ๆ เกี่ยวกับมูลค่าสินทรัพย์ทั้งสิ้น
- ผลิตภัณฑ์ที่มีเลเวอเรจ (รวมถึงสัญญาสำหรับความแตกต่าง; CFD) เป็นลักษณะของการเก็งกำไรและอาจส่งผลให้เกิดการสูญเสียหรือกำไร ก่อนที่คุณจะเริ่มการซื้อขายโปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจถึงความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องอย่างถ่องแท้